Quantcast
Channel: DroidSans - Battery
Viewing all 25 articles
Browse latest View live

มาทำความรู้จักกัน Qualcomm Quick Charge 2.0 กันเถอะ~

$
0
0

   หลายๆคนอาจจะพึ่งเคยได้ยินกับเทคโนโลยีตัวนี้ และก็น่าจะมีคนที่เคยได้ยินผ่านหูกันมาบ้าง ในวันนี้ก็ขอหยิบยกเจ้าเทคโนโลยีตัวนี้มาเล่าสู่กันฟังเสริมความรู้สร้างสุขลักษณะนิสัยกันดีกว่า (ไม่น่าใช่นะ...) ว่ามันคืออะไร เอาไว้ทำอะไร และมีดีเยี่ยงไร

 

"แบตเตอรี"มีเท่าไรก็ไม่เคยพอ

    สำหรับในยุครุ่งเรืองของ Smart Device ในทุกวันนี้เรียกด้ว่า ใครๆก็ใช้ Smartphone หรือ Tablet กันแทบทุกคน และก็ต้องบอกว่าเทคโนโลยีในปัจจุบันนี้เรียกได้ว่าสะดวกสะบายเสียเหลือเกิน ไม่ว่าจะเป็นการเล่นเกม คุย ทำงาน ดูหนัง ฟังเพลง แล้วก็เล่นเกม (ซ้ำเว้ย!) แต่สิ่งนึงที่เป็นอุปสรรคขวางกั้นผู้ใช้ทุกๆคนอยู่ นั่นก็คือ "แบตเตอรี" นั่นเอง 

    เครื่องยิ่งแรง จอยิ่งใหญ่ยิ่งชัด ฮาร์ดแวร์ครบครันก็ย่อมซดแบตเตอรีอยู่แล้ว อันนี้ทุกๆคนก็รู้กันดี ซึ่งในทุกวันนี้ ถึงแม้จะบอกว่าน่าจะเพียงพอต่อความต้องการแล้ว แต่ความต้องการของมนุษย์ก็ย่อมไม่สิ้นสุดนั่นแหละ ก็อยากได้แรงกว่านี้ จอคมชัดกว่านี้และแบตเยอะกว่านี้ (แต่ก็ดันอยากได้เครื่องบางด้วย) 

    เมื่อแบตเยอะก็หมายความว่าต้องชาร์จนานยิ่งขึ้นนั่นเอง นึกถึงสมัยที่ใช้แบตไม่ถึง 2,000 mA กันที่ชาร์จแค่สองชั่วโมงก็เต็มแล้ว แต่ในสมัยนี้กลับใช้เวลาชาร์จนานยิ่งขึ้น (เมื่อเทียบกับอะแดปเตอร์ที่ชาร์จด้วยกระแสเท่าเดิม) อย่างเช่นเจ้าของบล็อกใช้ Nexus 10 ที่มีแบตเตอรี 9,000 mAh ต่อให้ชาร์จด้วยกระแส 2A ก็ตามทีเถอะ ผลก็คือใช้เวลาอย่างน้อยก็เกือบ 5 ชั่วโมงเสียแล้ว

    ดังนั้นผู้ใช้บางคนนอกจากประสบปัญหาแบตเตอรีไม่ค่อยพอใช้งาน (เล่นทำไมตั้งเยอะแยะ XD) ก็ยังมีปัญหาต้องรอชาร์จแบตเตอรีให้เต็มก่อนเอาไปใช้งาน ซึ่งผมก็เจอปัญหาแบบนี้อยู่ประจำ เสียบชาร์จไว้ไม่ทันเต็มก็ต้องถอดออกแล้วออกไปทำธุระข้างนอกเสียแล้ว จึงทำให้ไม่กล้าใช้งานเครื่องอย่างเต็มที่เพราะกลัวแบตฯหมดกลางคัน 

 

Qualcomm Quick Charge คืออะไร?

    ทาง Qualcomm ก็มองเห็นถึงปัญหานี้มานมนานแล้ว จึงได้พัฒนาเทคโนโลยีที่เรียกว่า Quick Charge ใส่ลงไปในชิป Qualcomm ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่จะช่วยให้ชาร์จแบตเตอรีได้ไวขึ้นมากกว่าเดิม โดยมี Concept ง่ายๆว่า 

"Less time charging. More time doing."

 

     โดย Quick Charge 2.0 นั้นมีการพัฒนาขึ้นจาก Quick Charge 1.0 เป็นอย่างมาก โดยจากการทดสอบกับแบตเตอรีความจุ 3,300 mAh ก็พบว่าการชาร์จด้วยอะแดปเตอร์ปกติ (5V 1A) ในเวลาครึ่งชั่วโมงจะชาร์จได้เพียง 12% เท่านั้น ส่วนอะแดปเตอร์ที่รองรับ Quick Charge 1.0 (5V 2A) สามารถชาร์จได้ไวขึ้นเป็น 30% แต่ถ้าใช้อะแดปเตอร์ที่รองรับ Quick Charge 2.0 (9V 2A) จะทำให้ชาร์จเพียงแค่ครึ่งชั่วโมงแต่ชาร์จได้ถึง 60% เลยทีเดียว~!!

 

ใช้สาย Micro USB เฉพาะตัวหรือป่าว? 

    ไมจำเป็นต้องใช้สายเฉพาะ ขอแค่เป็นสาย Micro USB ที่สามารถทนแรงดันและกระแสที่อะแดปเตอร์จ่ายได้ก็พอ นอกเหนือจากนั้นก็ไม่มีปัญหาอะไร

 

อะแดปเตอร์ 9V? ชาร์จกับแบตเตอรีของ Smart Device ได้ด้วยหรือ?

    อันนี้ขอให้อ่านแล้วจงทำความเข้าใจด้วยนะครับ ขอเตือนไว้ก่อน เพราะไม่ใช่ว่าเอาอะแดปเตอร์ 9V อะไรก็ได้มาเสียบแล้วชาร์จได้เลยนะ แต่จะต้องเป็นอะแดปเตอร์ที่รองรับเทคโนโลยี Quick Charge 2.0 ถึงจะทำแบบนี้ได้เท่านั้น เพราะงั้นอย่ามั่วซั่วซี้ซั๊วหยิบอะแดปเตอร์ 9V ธรรมดาๆไปเสียบชาร์จล่ะ (อาจจะบึ้มกันเลยทีเดียว~)

    ที่ทำแบบนี้ได้ก็เพราะว่าชิป Qualcomm ที่มีความสามารถในการ Power Management ที่แรงดันมากกว่า 5V ได้ เพื่อให้การชาร์จนั้นทำได้เร็วยิ่งขึ้น โดยไม่ทำให้เครื่องมีอันตราย และก็ไม่ได้รองรับแค่ 9V เท่านั้นนะ แต่รวมไปถึง 6V หรือ 12V ด้วยล่ะ ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับอะแดปเตอร์ Quick Charge 2.0 ตัวนั้นๆนั่นเอง ซึ่งเมื่อก่อน Quick Charge 1.0 จะไม่รองรับแรงดันต่างๆแบบนี้ จะเน้นไปที่กระแสในการชาร์จเสียมากกว่า

 

อะแดปเตอร์ Quick Charge 2.0 ใช้กับเครื่องที่ไม่รองรับได้มั้ย?

    ผู้อ่านไม่จำเป็นต้องกังวลเลยว่าถ้าซื้ออะแดปเตอร์ Quick Charge 2.0 มาใช้ แล้วเครื่องอื่นๆจะไม่รองรับ เพราะว่าเมื่อใช้กับมือถือทั่วไปที่ชาร์จแบบปกติ ตัวอะแดปเตอร์ก็จะจ่ายแรงดัน 5V ออกมาแทน (กระแสต่างกันไปตามสเปคของอะแดปเตอร์) ยกตัวอย่างเช่น 

    KDDI AU AC Adapter 05 ที่รองรับ Quick Charge 2.0 แต่ตัวสเปคของอะแดปเตอร์ตัวนี้จะสามารถจ่ายไฟที่แรงดันและกระแสแตกต่างกันไปตามอุปกรณ์ได้ดังนี้

    • แรงดัน 5V กระแส 1.8A
    • แรงดัน 9V กระแส 1.8A
    • แรงดัน 12V กระแส 1.35A

    ถ้าอุปกรณ์ที่ชาร์จไม่รองรับ Quick Charge 2.0 ตัวอะแดปเตอร์ก็จะจ่ายไฟเป็น 5V 1.8A ให้แทน แต่ถ้าเครื่องรองรับก็จะจ่าย 9V หรือ 12V ให้ (ขึ้นอยู่กับเครื่องว่ารองรับแรงดันตัวไหน)

    Xiaomi MDY-3-EB ที่แถมมากับ Xiaomi Mi4 ก็เป็น Quick Charge 2.0 นะเอ้อ! (ภาพจากคนในกลุ่ม MIUI Thailand)

    แต่ก็จะมีหลายๆตัวที่ไม่ได้ระบุสเปคไว้ในหน้าเว็ปชัดเจน แต่น่าจะมีอยู่ในกล่องหรือเขียนติดไว้ที่ตัวอะแดปเตอร์ล่ะนะ อย่างเช่น Motorola Turbo Charger ที่บอกแค่ว่า 15W จึงไม่แน่ใจว่ารองรับแรงดัน 9V กับ 12V หรือไม่ แต่ที่แน่ๆคือ 5V 3A และถ้ารองรับ 12V (คาดเดา) ก็จะเป็น 12V 1.25A

    ดังนั้นไม่ว่าเครื่องจะรองรับหรือไม่ก็ไม่ต้องกังวล เพราะอะแดปเตอร์จะเป็นตัวจัดการให้เอง (ถึงบอกว่าอะแดปเตอร์ทั่วๆไปใช้ไม่ได้นั่นเอง)

 

 Smart Device ตัวไหนที่รองรับ Quick Charge 2.0 บ้าง?

    ขอแสดงความยินดีกับผุ้ใช้เครื่องที่เป็น Qualcomm Snapdragon ตระกูล 200, 400, 600 และ 800 รุ่นหลังๆด้วยนะครับ เพราะว่าทุกตัวจะมี Quick Charge 2.0 เกือบทั้งหมด (พวกรุ่นแรกๆจะได้แค่ 1.0 ) แต่ก็จะมีแค่ไม่กี่ตัวที่ Full Feature Supported หรือก็คือรองรับ Quick Charge 2.0 แบบเต็มรูปแบบ (รองรับความเร็วสูงสุดที่อะแดปเตอร์จ่ายให้ได้) ซึ่งจะมีดังนี้

    • Fujitsu Arrows NX
    • HTC Butterfly 2
    • HTC One M8
    • Moto X 2014
    • Samsung Galaxy Note 4
    • Samsung Galaxy Note Edge
    • Samsung Galaxy S5
    • Sharp Aquos Zeta
    • Sony Xperia Z2
    • Sony Xperia Z3
    • Sony Xperia Z3 Compact
    • Xiaomi Mi3
    • Xiaomi Mi4
    • Sharp Aquos Tab
    • Sony Xperia Z2
    • Sony Z3 Tablet Compact

    ปล1. นอกเหนือจากนี้จะรองรับ Quick Charge 2.0 ก็จริงเพราะใช้ชิป Qualcomm ซีรีย์ดังกล่าว แต่ว่าต้องดูด้วยชิป Power Management นั้นรองรับกับ Quick Charge 2.0 หรือไม่

    ปล2. ของ Samsung จะมีหลาย Model CPU ดังนั้นจะมีแค่ตัวที่ใช้ CPU Qualcomm เท่านั้นที่รองรับ

    ปล3. Moto X 2013 ของผมเป็น Qualcomm Snapdragon S4 Pro ฮืออออออออออออออออออออออออออ

    ปล4. ดูเหมือน Nexus 5 จะใช้ Quick Charge 2.0 ไม่ได้ เพราะชิป Power Management นั้นไม่รองรับ http://www.androidcentral.com/nexus-5-faq

  

อะแดปเตอร์พวกนี้หาซื้อได้จากที่ไหนบ้าง?

    ต้องบอกว่าไม่มีค่ายมือถือหลักๆที่ทำอะแดปเตอร์สำหรับ Quick Charge 2.0 เลย.... และบริษัทที่ทำก็เป็นต่างประเทศกันซะหมด ดังนั้นก็คงต้องบอกว่า "นำเข้าเอง"หรือ "สั่ง Ebay"ละกันนะครับ โดยมีดังนี้

    • KDDI AU AC Adapter 05
    • Motorola Tur Charger
    • MYY Docomo AC Adapter 05
    • Power Partners AC Adapter
    • Powermod Car Charger
    • Powermod Wall Charger
    • Puregear Car Charger
    • Puregear Wall Charger
    • Ventev dashport q1200
    • Ventev wallport q1200
    • Verus Peripheral

     สำหรับอะแดปเตอร์ Quick Charge 2.0 ที่ยังไม่วางจำหน่าย

    • Dongguan Aohai Power Technology A58-502000
    • Incipio Single Port USB Car Charger
    • Xiaomi MDY-3-EB

    สามารถเข้าไปดูของแต่ละเจ้ากันได้ที่ Quick Charge 2.0 Certified Accessories 

 

VOOC Rapid Charge ใน OPPO Find 7 กับ 7A คือ Quick Charge 2.0 หรือไม่?

    เพื่อไม่ให้สับสนนะครับ เลยเพิ่มหัวข้อนี้เข้ามาด้วย เพราะว่า OPPO ได้เปิดตัว VOOC มาก่อนที่จะรู้จักกับ Quick Charge 2.0 เสียอีก ซึ่ง VOOC จะเป็นเทคโนโลยีเฉพาะตัวของ OPPO ที่ใช้อะแดปเตอร์ 5V 4.5A ซึ่งเป็นอะแดปเตอร์กระแสสูงนั่นเอง และบังคับว่าต้องใช้กับสาย Micro USB พิเศษที่ทำมากับตัวเครื่องโดยเฉพาะ เพราะจะมีขั้ว 7 ขาสำหรับ Rapid Charge นั่นเอง

 

  

ความสามารถของ Fast Charging บน Samsung Galaxy Note 4 ก็คือ Quick Charge 2.0 

    เนื่องจาก Speaker ในงานเปิดตัวของ Samsung Galaxy Note 4 ได้กล่าวไว้ว่า Samsung Galaxy Note 4 สามารถชาร์จแบตเตอรีได้ไวกว่ารุ่นก่อนๆ โดยชาร์จจาก 0% ถึง 50% ใช้เวลาเพียงแค่ครึ่งชั่วโมงสำหรับการชาร์จแบตเตอรีของเครื่องที่มีความจุ 3,220 mAh ซึ่งนั่นก็คือ Quick Charge 2.0 ที่อยู่ในรุ่นที่ใช้ CPU ของ Qualcomm Snapdragon 805 นั่นเอง

     ดังนั้นจึงเรียกได้ว่าเป็น Feature ที่เอาความสามารถที่มีอยู่แล้วมานำเสนอให้น่าสนใจนั่นเอง โดยอะแดปเตอร์ที่ให้มาก็จะเป็นแบบ 5V 2A สำหรับชาร์จธรรมดาและ 9V 1.67A สำหรับ Quick Charge 2.0

 
 
    สำหรับรุ่นที่ใช้ชิป Exynos จะไม่มี Quick Charge 2.0 นะจ๊ะ แต่ก็อย่าเสียใจเพราะว่าในชิป Exynos ทาง Samsung ก็ใส่ความสามารถ Adaptive Fast Charging ให้ด้วย เพื่อให้ชาร์จได้แบบ Quick Charge 2.0 ดังนั้นรุ่นที่เป็น Qualcomm Snapdragon ก็จะใช้ Quick Charge 2.0 และถ้ารุ่นที่เป็น Exynos ก็จะใช้ Adaptive Fast Charging 
 
    ปล. บน MediaTek ก็จะมี Pump Express นะเออ อย่าตกใจไปว่าไม่มีเหมือนค่ายอื่นๆเค้าล่ะ ^ ^
 

ความลับในการชาร์จแบตเตอรีบน Smart Device

    จะเห็นว่าการนำความสามารถ Quick Charge 2.0 มาใช้งานนั้นไม่มีผลต่อสาย Micro USB แบบ OPPO ที่ต้องใช้ขั้วในการ Interfaced ข้อมูลถึง 7 ขา ในขณะที่ Quick Charge 2.0 ใช้สาย Micro USB ทั่วไปที่มี 5 ขา ได้เลย เพราะในความเป็นจริงนั้นการชาร์จแบตเตอรีจะมีการเช็คข้อมูลก่อนจะชาร์จเล็กน้อย ดังนั้นจึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่จะ Request ไปยังอะแดปเตอร์ Quick Charge 2.0 ได้ว่ารองรับการชาร์จดังกล่าวเพื่อให้อะแดปเตอร์จ่ายไฟออกมาสำหรับการชาร์จแบบ Quick Charge 2.0 นั่นเอง ดังนั้นหัวใจสำคัญก็จะอยู่ที่ตัวอะแดปเตอร์ Quick Charge 2.0 กับชิป Qualcomm ที่มี Power Management สำหรับ Quick Charge 2.0 

    ถ้าใครเป็นนักเล่นเครื่องบินบังคับก็จะน่าจะรู้กันอยู่แล้วว่าแบต Li-ion สามารถชาร์จกระแสสูงๆได้อยู่แล้ว โดยที่เรียกกันว่า Fast Charge ดังนั้นไม่ว่าจะเป็น Quick Charge 2.0 หรือ VOOC ก็ไม่ใช่เรื่องแปลกใหม่แต่อย่างใด แต่เป็นการทำระบบการชาร์จให้ไวยิ่งขึ้น โดยไม่เป็นอันตรายต่อผู้ใช้งานนั่นเอง

 

Qualcomm Quick Charge 2.0 มีความอันตรายมากแค่ไหน และอายุใช้งานแบตจะน้อยลงหรือไม่?

    ถ้าถามว่ามันปลอดภัยมากน้อยแค่ไหน ผมเองก็คงบอกได้แค่ว่า ไม่รู้ เพราะไม่ได้ลอง (เครื่องยังไม่รองรับเลย) แต่จากเว็ปไซต์ของทาง Qualcomm เองก็ได้มีการ Testing และมี Certification เพื่อยืนยันว่า Quick Charge 2.0 สามารถทำให้ชาร์จได้ไวขึ้น เร็วขึ้น โดยที่ผู้ใช้ยังสามารถเล่นมือถือในระหว่างการชาร์จได้ ซึ่งผมก็มั่นใจว่า Qualcomm สามารถ Management กับ Quick Charge 2.0 ได้อย่างปลอดภัยอยู่แล้ว (ถ้าไม่ไปพิเรณทำอะไรแปลกๆเอง)

    อ่านได้จาก Qualcomm Quick Charge 2.0 Testing and Certification

    ส่วนเรื่องอายุการใช้งานแบตเตอรีนั้นบอกได้เลยว่า ไม่ว่าจะเป็น Fast Charging แบบไหนล้วนก็ทำให้แบตเตอรีอายุสั้นลงเรื่อยๆอยู่แล้วครับ ยิ่งกระแสเยอะแรงดันเยอะก็ยิ่งเสื่อมไว หรือแม้แต่การใช้อะแดปเตอร์ 5V 1A ก็ตาม ดังนั้นถ้าอยากจะถนอมแบตเตอรีกันแบบจ๋าๆก็ลองชาร์จด้วยอะแดปเตอร์ 5V 0.5A แทน (ถ้าทนรอจนกว่าแบตเตอรีจะเต็มได้นะ) และดีไม่ดีเราก็อาจจะเปลี่ยนเครื่องกันก่อนที่แบตเตอรีจะเสื่อมก็เป็นได้ เพราะเดี๋ยวนี้ Life Cycle ของมือถืออยู่ได้แค่ 1 - 2 ปีแล้ว (ไม่ใช่อายุการใช้งานหรือวัสดุที่ใช้แต่อย่างใด แต่เป็นสเปคที่ตกลงไปเรื่อยๆตามยุคสมัยมากกว่า)

 

    สุดท้ายนี้ก็ขอทิ้งท้ายด้วยวีดีโอนำเสนอ Quick Charge จาก Qualcomm 

 

แหล่งที่มาของข้อมูล

 


วิธีอ่านค่าการใช้งานแบตเตอรี (Battery Usage) บน Android 5.0 Lollipop และเวอร์ชั่นก่อนหน้า

$
0
0

      ในยุคของ Smartphone ครองโลกแบบนี้ แบตเตอรีก็เป็นส่วนสำคัญหลักไปเสียแล้ว เพราะเป็นที่รู้กันอยู่แล้วว่า Smartphone นั้นสูบแบตเตอรีเก่งกันไม่น้อย จึงทำให้ผู้ใช้ต้องคอยเช็ค คอยชาร์จอยู่บ่อยๆ และบนระบบ Android ก็มีการแสดงรายละเอียดการใช้งานแบตเตอรีให้ดูได้ด้วย แต่ว่ามันดูยังไงล่ะ?

       ผู้ใช้ส่วนใหญ่จะรู้กันอยู่แล้วว่าสามารถดูประวัติการใช้แบตเตอรีในเครื่องได้ โดยเข้าไปที่ Settings > Batteryหรือ การตั้งค่า > แบตเตอรีก็จะมีหน้าแสดงกราฟระดับแบตเตอรีและข้างล่างเป็นรายชื่อที่บอกว่าแอพฯแต่ละตัวใช้ไปเท่าไรบ้าง

 

      กราฟข้างบนสุดก็คงรู้กันอยู่แล้วว่ามันคือระดับแบตเตอรีที่จะบอกว่าในช่วงเวลาที่ผ่านมา ระดับแบตเตอรีอยู่ในระดับไหนบ้าง 

 

      แต่ที่ผมจะพูดถึงในบทความนี้ก็คือรายชื่อที่อยู่ต่อจากกราฟนี้ โดยในภาพตัวอย่างจะมีอยู่ 7 ตัวด้วยกัน (ถ้าเยอะจัดมันก็เลื่อนขึ้นลงเพื่อดูได้)

       จะเห็นว่าส่วนที่กินแบตเยอะที่สุดก็คือหน้าจอนั่นเอง ที่เหลือก็กินนิดหน่อย แบ่งๆกันไป

 

      แต่ทว่า 65% ที่ว่าคือ 65% ของอะไรล่ะ? ส่วนใหญ่จะคิดว่าเป็น 65% ของแบตเตอรีที่หายไป หรือก็คือไอแบตที่ลดลงไป 65% เนี่ย เพราะหน้าจอ!! แต่ทว่าพอลองดู %แบตเตอรีก็จะเห็นว่า แบตเตอรีเหลืออยู่ 50% นะ

 

        65% ที่ว่านั้นกลับคิดจากทั้งหมดที่เสียไป ยกตัวอย่างเช่น เหลือแบตเตอรีอยู่ 70% โดยใช้แบตเตอรีไป 30% 

 

      และ 30% ที่เสียไปจะถูกคิดเป็น 100% สำหรับการทำงานต่างๆอีกที

 

      จึงเป็นสาเหตุว่าทำไมหน้าจอกินแบตถึง 65% เพราะ 65%ที่ว่านี้คือ 65% ที่อยู่ใน 30% อีกทีหนึ่ง ยกตัวอย่างเช่น เครื่องนี้มีแบตเตอรีอยู่ 2,000mAh ดังนั้น 30% ก็คือ 600 mAh จากนั้นระบบก็จะเอาเจ้า 600mAh นี่แหละ มาแบ่งย่อยอีกทีว่าการทำงานอะไรใช้ไปเท่าไรบ้าง ดังนั้นที่หน้าจอใช้ไปก็จะเป็น 65% ของ 600mAh หรือก็คือ 390mAh เท่านั้นเอง

      และถ้าสังเกตดีๆจะเห็นว่ารายชื่อที่แสดงอยู่ถ้าลองคิดผลรวมของทั้งหมด ค่าที่ได้ก็จะใกล้เคียงกับ 100% นั่นเอง (ไม่เป๊ะ เพราะแสดงแต่จำนวนเต็มและบางอย่างที่ต่ำกว่า 1% ก็จะไม่แสดง)

 

      สำหรับวิธีการแสดงแบตเตอรีแบบนี้ ทำให้มีผู้ใช้เข้าใจผิดกันเยอะมาก ด้วยตัวเลขที่เยอะจึงทำให้รู้สึกว่า เอ้ย! ทำไมมันกินแบตเยอะจัง! (แล้วก็ไปหาพวกแอพฯประหยัดแบต แอพฯทำความสะอาด บลาๆ มาลง) ซึ่งจริงๆแล้วที่เลขเยอะก็อาจจะเป็นการสะสมจากการใช้งานมาอย่างต่อเนื่องนั่นเอง

      และการทำให้เข้าใจผิดกันมานมนาน ทำให้ใน Android 5.0 Lollipop เปลี่ยนรูปแบบการแสดงผลใหม่ โดยใช้ไปเท่าไรจากทั้งหมดก็คือเท่านั้นแหละ!

      จะเห็นว่าแบตเตอรีที่ลดไป 4% ก็จะถูกแบ่งออกมาตามที่เห็นเลย โอ้ว! ชีวิตสะดวกขึ้นเยอะ ไม่ต้องตกใจกับตัวเลขเยอะๆอีกต่อไปแล้ว~ 

 

      ดังนั้นผู้ที่ใช้เวอร์ชันเก่ากว่า Android 5.0 Lollilpop ก็อย่าเข้าใจผิดกันนะจ๊ะ จะได้ไม่ต้องกังวลเรื่องแบตเตอรีมากนัก 

 

      ปล.ขอบคุณข้อมูลจากชาว Android Application Club และ Nexus 5 Thailand ที่แบ่งปันข้อมูลให้ผมมานั่งทำบทความนี้นะคร้าบ

 

 

แบตเตอรี่ Li-ion Kevlar เบาบางกว่าเดิม ความจุมากขึ้น อึดไม่ระเบิด มาแน่ปลายปี 2016

$
0
0

 

เดี๋ยวนี้เชื่อว่าทุกคนที่ใช้ Smartphone ก็คงจะมี powerbank ไว้คอยชาร์จระหว่างวันกันอยู่แล้ว ไม่อย่างนั้นอาจจะอดเล่น Crossy Roadระหว่างนั่งรถกลับบ้านแน่เลย แต่ในอนาคตอันใกล้นี้ เราอาจจะไม่ต้องพก powerbank หนักๆไปไหนมาไหนอีกต่อไป เพราะแบตมือถือเรานั้นจะอึดขึ้น บางลง แถมยังมั่นใน ปลอดภัยไม่ระเบิดแน่นอนด้วยเทคโนโลยี เส้นใยนาโน Kevlar ที่มหาวิทยาลัยมิชิแกน ประเทศสหรัฐอเมริกาได้ทำการวิจัยอยู่นั้นเอง

เรามักจะเคยได้ยินชื่อ Kevlar (เคฟลาร์)มาจากชุดกระทะที่ขายกันตาม TV Direct … ไม่ใช่ละ! นั้นมันเทฟล่อน Kevlarนั้นมักจะถูกนำใช้ทำชุดเกราะกันกระสุน เพราะสามารถดูดซับแรงกระแทรกได้ดี และมีน้ำหนักเบา นอกจากนั้นยังมีคุณสมบัติเป็นฉนวนไฟฟ้า เราจึงสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการทำแบตเตอรี่ได้โดยการทำ Kevlarเป็นแผ่นฟิล์มคอยแยกสารที่ใช้เก็บประจุลบและบวกออกจากกันนั้นเอง

 

เพราะว่า Kevlarนั้นมีความแข็งแรง ทนต่อแรงยืดได้มาก เราจึงสามารถทำให้แบตเตอรี่ Li-ion Kevlarนั้นบางลง เล็กลง หรืออาจจะเรียกได้ว่า มีที่ให้ใส่แบตลงไปใน smartphoneของเราได้มากขึ้นนั้นเอง

แล้วมันปลอดภัยขึ้นยังไงหล่ะ? เมื่อเกิดเหตุระเบิดขึ้น ให้เรายกมือถือขึ้นมาบัง เพราะ Kevlarมีคุณสมบัติในการกันกระสุน (วางถุงกาวลงก่อนนะ)ตามปกติแล้วในแบตเตอรี่นั้นจะมีฟิล์มที่ทำหน้าที่แยกประจุลบและประจุบวกออกจากกัน แต่เมื่อใช้งานไปสักพัก โมเลกุลลิเทียม (จาก Li-ion, ลิเทียมไอออน)อาจจะรวมตัวกันแล้วเจาะทะลุฟิล์มนี้ทำให้เกิดการลัดวงจร และอาจเกิดระเบิดได้ Kevlarนั้นจะเข้ามาทำหน้าที่แทนฟิล์มตัวนี้ทำให้ โมเลกุลลิเทียมเจาะทะลุไปไม่ได้นั้นเอง

 

ทางทีมวิจัยของมหาวิทยาลัยมิชิแกนกล่าวว่า มีบริษัทกว่า 30 บริษัทได้สนใจในเทคโนโลยีนี้ และขอตัวอย่างของแบตเตอรี่นี้ไปทดสอบแล้ว ทางทีมวิจัยได้รวมกันตั้งบริษัทขึ้นมาในชื่อ Elegusเพื่อสานต่อเทคโนโลยี Li-ion Kevlarนี้ และคาดว่าจะสามารถเริ่มนำไปใช้กับอุปกรณ์ต่างๆ เช่น Smartphone, Tablet, Laptop ในช่วงปลายปี 2016

Source: Blognone, Engadget, Michigan News

StoreDot เทคโนโลยีชาร์จแบตใหม่สุดล้ำ นาทีเดียวเต็ม!!

$
0
0

พลังงานแบตเตอรีเป็นอะไรที่ขาดไม่ได้ไปซะแล้วสำหรับคนยุคนี้ที่ต้องพกพาสมาร์ทโฟนและแกดเจ็ทต่างๆมากมาย เราได้เห็นความพยายามในการแก้ไขปัญหาเรื่องแบตมาหลายปี ทั้งความพยายามในการเพิ่มความจุ ลดขนาด แต่ก็ต้องแลกมาด้วยความยาวนานในการชาร์จไฟ ที่แม้ล่าสุดเราได้เห็นแต่ละแบรนด์เปิดตัวเทคโนโลยีชาร์จไฟเร็วจี๋ แต่ทุกรุ่นก็ยังอยู่ในระดับชม.กันทั้งสิ้น วันนี้เดี๋ยวมาทำความรู้จักเจ้า StoreDotที่จะทำให้เราชาร์จไฟให้เต็มได้ภายใน 1 นาทีเท่านั้น!!

ก่อนหน้านี้เราเคยเสนอข่าวของ StoreDot แบตเตอรี่ชาร์จไว 30 วินาทีเต็ม ไปเมื่อช่วงต้นปี 2014 ซึ่งหลายๆคนก็ให้ความสนใจและรอคอยว่ามันจะเป็นจริงขึ้นเมื่อไหร่ นี่ก็ถือว่าเป็นรายละเอียดเพิ่มเติมของเจ้า StoreDot ว่าผ่านไปเกือบปี มีอะไรคืบหน้าบ้างครับ

  • StoreDot เป็นบริษัท Startup จากประเทศอิสราเอล

  • ค้นพบจากการทำวิจัยด้านนาโนเทคโนโลยีในมหาวิทยาลัย Tel Aviv ระหว่างค้นหาการรักษาโรคอัลไซเมอร์

  • นักวิจัยค้นพบโมเลกุลเปปไทด์ที่สามารถเก็บประจุไฟฟ้าได้ แถมยังเก็บได้แบบรวดเร็วกว่าชาวบ้านทั้งหมด

  • แต่ข้อเสียคือโมเลกุลที่ว่าคือจะเก็บไฟฟ้าได้น้อยกว่าเทคโนโลยีปัจจุบันอย่าง Li-Ion หรือ Li-Po  คิดเป็น 2 ใน 3 เท่านั้น แต่ว่าชาร์จแค่นาทีเดียวเต็มนี้ก็น่าจะทดแทนจุดด้อยนี้ลงได้

  • ปีที่แล้วเราได้เห็น StoreDot กับแบตขนาดใหญ่เบิ้ม แต่ปีนี้เค้าทำให้มันบางลงพอจะยัดลงมือถือได้แล้ว

  • เทคโนโลยี StoreDot ไม่สามารถเอามาใช้แทนที่แบตเตอรี่ทั่วไปได้ทันที ต้องมีการปรับปรุงหลายอย่างเพื่อให้สามารถทำงานได้ เช่น Charger จะให้กำลังไฟสูงถึง 80A!! (ปกติที่ใช้ๆกันแค่ 2A)

  • บริษัทก็ได้คุยกับผู้ผลิตมือถือไปแล้วกว่า 15 เจ้า ซึ่งกำลังจะมีคนเซ็นสัญญาด้วยอยู่ 1-2 เจ้า

  • สิ่งที่ทำให้ผู้ผลิตหลายๆเจ้าไม่อยากเอาเจ้า StoreDot ไปใช้ก็เพราะต้องมีต้นทุนเพิ่ม และราคาขายที่แพงขึ้นราว $50 (ราวๆ 1500 - 2000 บาท)

  • เราน่าจะได้เห็นเทคโนโลยีนี้พร้อมใช้อย่างเร็วก็ ธันวาคม ปีหน้าเลย (คริสมาสต์ 2016)

  • ทีมพัฒนาหวังกันว่า ณ วันที่วางขายจะสามารถทำให้ตัวแบตมันเองเก็บไฟได้เพียงพอต่อการใช้งาน Smartphone ใน 1 วัน

  • ปัจจุบัน StoreDot ได้รับเงิน Funding มาแล้วราว 48 ล้านเหรียญ จากนักลงทุนหลายราย รวมถึง Samsungและ โรมัน อิบราโมวิช!! (อ่านไม่ผิด...เค้าคือเจ้าของสโมสรเชลซีนั่นแหละ)

 

นอกจากนี้ เทคโนโลยีของ StoreDot เตรียมเอาไปใช้กับรถยนต์ไฟฟ้าด้วย ซึ่งการชาร์จเพียง 5 นาที ก็เพียงพอที่จะทำให้รถวิ่งได้ไกลราว 240 กิโลเมตร!! (150miles) และต่อยอดเอาไปพัฒนาด้านอื่นๆได้อีกมากคาดว่าจะสร้างยอดขายได้มหาศาล กำจัดปัญหาแบตหมดไว ไม่พอใช้งานในหนึ่งวัน และบำบัดโรคติดเสาของผู้ใช้สมาร์ทโฟนได้หมดสิ้นไป

เอ่อ ไม่ทราบว่ามีให้ซื้อหุ้นหรือแบคมั้ยครับ...ขอทุ่มเงินหมดตัว ขายบ้าน ขายรถ ขายทุกสิ่งอย่างไปลงทุนด้วย ณ บัดเดี๋ยวนี้เลย Tongue



ที่มา The Guardian via BGR

[ไขข้อข้องใจ] แบตเตอรี่ชาร์จอย่างไรให้อยู่กับเราไปนานๆ

$
0
0

เชื่อว่าหลายๆ คนอาจจะเคยอ่านบทความเกี่ยวกับวิธีถนอมแบตเตอรี่ ยืดอายุการใช้งานมาจากหลายที่หลายแหล่ง ซึ่งข้อมูลแต่ละที่ก็เหมือนกันบ้างต่างกันบ้าง จนบางครั้งก็เริ่มสับสนว่าอันไหนถูกอันไหนผิดกันแน่ เราจึงได้พยายามค้นหาข้อมูลจากแหล่งที่น่าเชื่อถือด้านแบตเตอรี่ เรียบเรียงและสรุปข้อมูลที่ถูกต้องพร้อมผลการทดลองที่ทำในแลป เพื่อหาคำตอบให้เพื่อนๆอ่านกันว่าอะไรคือ วิธีชาร์จแบต ใช้งานมือถือ ที่ถูกต้องกันแน่

ก่อนที่จะไปถึงเนื้อหา ที่บางคนอาจจะคิดว่า "ยาวไปไม่อ่าน"เราเลยขอสรุปแบบสั้นๆเอาไว้ให้ดังนี้

สรุปวิธีการใช้งานแบตเตอรี่ที่เป็น Li-Ion (ลิเธียมไอออน) หรือ Li-Po (ลิเธียมโพลิเมอร์)
เพื่อการถนอมแบตให้อยู่ไปนานๆ

  1. ชาร์จให้บ่อย ไม่เต็มไม่เป็นไร
  2. อย่าใช้แบตหมดจนเครื่องดับ
  3. แต่ควรต้องใช้แบตให้หมดเกลี้ยง 1-3 เดือนครั้ง
  4. อย่าปล่อยให้เครื่องร้อน อยู่ในที่เย็นยิ่งดี
  5. เลี่ยงการใช้งานระหว่างชาร์จ
  6. สามารถเสียบปลั๊กชาร์จไปเรื่อยๆได้แม้ไฟเต็ม
  7. อย่าอัดประจุเพิ่มด้วยที่ชาร์จไฟแรงๆ
  8. ไม่ต้องเสียเวลาชาร์จครั้งแรกนานๆก็ได้

ความเข้าใจผิดต่อแบตลิเธียม โดยนึกว่ามันจะเหมือนกับแบต Nickel (นิกเกิ้ลแคดเมียม)
  1. ควรใช้ให้หมดก่อนแล้วค่อยชาร์จ
  2. ชาร์จตอนแบตยังไม่หมด จะสร้างความจำให้แบต ว่ามีความจุน้อยลง
  3. ชาร์จแล้วควรชาร์จให้เต็ม
  4. ชาร์จครั้งแรกต้องนาน 14-16 ชม.

ที่นี้เรามาดูกันว่าอะไรเป็นที่มาของวิธีข้างต้นนี้
 
ต้องเกริ่นสักเล็กน้อยว่าแบตเตอรี่ของอุปกรณ์พกพาในปัจจุบันไม่ว่าจะเป็นบนสมาร์ทโฟน แท็บเล็ตหรือคอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊ก จะเป็นแบตเตอรี่ประเภท Li-Ion หรือไม่ก็ Li-Poซึ่งเจ้าแบตเตอรี่ 2 ประเภทนี้ต่างกันเล็กน้อยที่โครงสร้างของมัน แต่ในเชิงการใช้งานจริงๆ แล้วก็ไม่เห็นความ แตกต่างเท่าไรนัก
 

แบตเตอรี่เสื่อมเพราะอะไร ?

โดยปกติแล้วแบตเตอรี่จะเสื่อมสภาพตามเวลาอยู่แล้วแม้ว่าจะไม่ได้ใช้งานก็ตาม ดังนั้นเราควรซื้อแบตที่เพิ่งผลิตออกมาใหม่ๆ ไม่เอาที่เก่าเก็บมา แต่ในเชิงของการใช้งานแล้ว แบตเตอรี่จะมีสิ่งที่เรียกว่า "Charge cycle"คือ เลขประมาณรอบการใช้งานของแบตเตอรี่ก่อนที่แบตเตอรี่จะเริ่ม เสื่อมสภาพหรือหมดอายุ ทีนี้คือ "รอบ"ที่ว่านี่มันเป็นยังไง เสียบสายชาร์จแบตขึ้นไป 1% แล้วถอดนี่นับเป็นรอบรึยัง?

เชื่อมั้ยครับว่า "การนับรอบ"ของแบตเตอรี่นี่เป็นปัญหาระดับโลกเลยทีเดียว (ว่าไปนั่น) เพราะน้อยที่นักจะมีวิธีการนับ รอบที่คนทั่วไปสามารถอ่านเข้าใจได้และมีเกณฑ์ชัดเจน จนกระทั่งมีบริษัทชื่อคุ้นหูพวกเรานามว่า "แอปเปิล"ได้ อธิบายว่า 1 Charge cycle คือการใช้แบตเตอรี่ครบ 100% แต่ไม่จำเป็นว่าต้องเป็นการใช้งานต่อเนื่องจนแบตเตอรี่หมดนะครับตัวอย่างเช่น ใช้บแบตเตอรี่จากเต็ม 100% ลดไปเหลือ 50% นำไปชาร์จเพิ่มจนเต็ม แล้วใช้ อีก 50% แบบนี้ถึงนับเป็น 1 Charge cycle ครับ

ผลการทดสอบแบตเตอรี่หลายๆก้อนที่แสดงให้เห็นว่าเมื่อมีการใช้งานไปเรื่อยๆความจุจะค่อยๆน้อยลงไปซึ่งปกติจะลดลงเหลือราว 75% ของความจุจริงเมื่อผ่านไปประมาณ 1 ปี

แน่นอนว่าแบตเตอรี่ไม่ได้เสื่อมเพียงเพราะการใช้งานจนครบ Charge cycle อย่างเดียว ยังมีปัจจัยอีกหลายๆ อย่างที่ทำให้แบตเตอรี่เสื่อมสภาพก่อนเวลาอันควรหรือเรียกว่ามันไป "ลด Charge cycle"ของแบตเตอรี่ครับ ข้อมูลที่เราจะนำเสนอต่อไปนี้เป็นผลการทดลองที่ได้มาจากการทดสอบกับแบตเตอรี่ Li-Ion ครับ

จริงหรือไม่ที่ว่า "ไม่ควรปล่อยแบตหมดแล้วถึงชาร์จ" ?

Depth of dischargeคือ ปริมาณแบตเตอรี่ที่ถูกใช้ไป เช่น Depth of discharge 100% เท่ากับแบตเตอรี่ถูกใช้งานเหลือ 0%, Depth of charge 10% เท่ากับ แบตเตอรี่เหลือ 90%)
Discharge cycles before the battery capacity drops to 70%คือ จำนวนรอบการใช้งาน/ชาร์จแบตเตอรี่ ก่อนที่ ความจุของแบตเตอรี่จะลดลงไปเหลือ 70% ของความจุเดิม

ตารางข้างบนนี้เป็นผลการทดลองว่าการชาร์จแบตเตอรี่ที่ระดับไฟต่างๆ ส่งผลต่อความจุของแบตเตอรี่ในระยะยาวอย่างไรการทดลองทำโดยการชาร์จแบตเตอรี่ Li-Ion ขนาดความจุเท่ากันแต่เริ่มชาร์จที่ระดับ Depth of discharge ต่างกันและบันทึกข้อมูลว่าสามารถชาร์จไปได้กี่รอบก่อนที่ความจุเต็มๆของแบตเตอรี่จะตกลงไปเหลือ 70% จากความจุเริ่มต้น

ผลการทดลองพบว่าถ้าเราใช้งานแบตเตอรี่จนเหลือ 0% แล้วจึงค่อยชาร์จ และทำเช่นนี้ไป 300 - 500 รอบก็จะพบว่า แบตเตอรี่มีความจุลดลงไปเป็น 70% จากของเดิมซะแล้ว ในขณะที่ถ้าเราชาร์จแบตเตอรี่ตอนที่เหลือมากกว่า 0% จะมีจำนวนรอบมากกว่า 4-8 เท่าก่อนที่แบตเตอรี่จะมีความจุลดลงเหลือ 70% เลยทีเดียว

ดังนั้นข้อมูลที่ว่า การชาร์จแบตเตอรี่เมื่อประจุ(เปอร์เซ็นต์)เหลือน้อยๆ นั้นทำให้แบตเตอรี่เสื่อมเร็ว เป็นความจริงครับ แต่ว่าการชาร์จเมื่อประจุลดไปเล็กน้อย (เปอร์เซ็นต์ลดไปนิดเดียว) ก็ไม่ได้ส่งผลดีนัก ช่วงที่เหมาะสมที่สุดจากข้อมูลในตารางคือช่วงที่แบตเตอรี่เหลือราว 50% ครับ

จริงหรือไม่ที่ว่า "ความร้อนทำให้แบตเตอรี่เสื่อมเร็ว" ?

 

การทดลองนี้ทดสอบว่า "ความร้อน"และ "ประจุที่คงเหลือ"มีผลต่อการเสื่อมสภาพของแบตเตอรี่หรือไม่ โดยการปล่อยแบตเตอรี่ที่ไม่ถูกใช้งานให้อยู่ในอุณหภูมิที่แตกต่างกันเป็นเวลา 1 ปี โดยมีแบตเตอรี่ก้อนหนึ่ง ชาร์จไว้ที่ 40% มีแรงดันไฟฟ้า (Volt) ต่ำ กับแบตเตอรี่อีกก้อนหนึ่ง ที่ชาร์จไว้ที่ 100% หรือก็คือแบตเตอรี่ที่ชาร์จเต็ม มีแรงดันไฟฟ้า  (Volt) ที่สูงกว่า

ผลการทดลองพบว่าที่อุณหภูมิยิ่งสูง ยิ่งร้อน แบตเตอรี่ยิ่งเสื่อมสภาพมากครับ ที่ 60 องศาเซลเซียส แบตเตอรี่ 40% ที่ ถูกทิ้งไว้มีความจุเมื่อชาร์จเต็มลดลงไป 75% จากเดิม ขณะที่แบตเตอรี่ 100% มีความจุเมื่อชาร์จเต็มลดไปเป็น 60% ภายในเวลาเพียง 3 เดือนเท่านั้น! จะเห็นว่าแบตเตอรี่ที่มีแรงดันไฟฟ้าสูงกว่าก็จะเสื่อมเร็วกว่าด้วยครับ

ดังนั้นข้อมูลที่ว่า ความร้อนทำให้แบตเตอรี่เสื่อมเร็ว เป็นความจริงครับ รวมถึงแบตเตอรี่ที่ถูกเก็บไว้โดยมีแรงดันไฟฟ้าสูง (เปอร์เซนต์เยอะๆ)ก็จะเสื่อมเร็วเช่นกัน

โอ๊ย! แบตเหลือน้อยก็ไม่ดี เครื่องร้อนก็ทำแบตเสื่อม แล้วเราจะทำยังไงกับมันดีล่ะ ?

ไม่ต้องห่วงครับ เราไม่ได้มาเล่าสู่กันฟังแค่สาเหตุที่ทำให้แบตเตอรี่เสื่อม เราเตรียมคำแนะนำสำหรับการใช้งานและ การดูแลรักษาแบตเตอรี่เหมาะสมมาให้เพื่อนๆ อ่านกันด้วย จากคำแนะนำที่ได้สรุปไว้ข้างบนเราจะมาลงรายละเอียด กันว่าควรหรือไม่ควรทำเพราะอะไร ลองไปดูกันเลยครับ

how to charge smartphone properlyชาร์จไฟอย่างไรให้ถูกต้อง เดี๋ยวมาดูกัน

1. ชาร์จแบตบ่อยๆ ไม่เต็มก็ไม่เป็นไร

แบตเตอรี่แบบลิเธียม-ไอออนนั้นไม่จำที่จะต้องปล่อยชาร์จจนเต็ม ต่างกับแบตเตอรี่ยุคเก่าที่เป็นประเภทนิกเกิล- แคดเมียมที่การชาร์จไม่เต็มจะส่งผลต่อความจุของแบตเตอรี่ ดังนั้นการชาร์จแบตเตอรี่ลิเธียม-ไอออนเพิ่มเล็กน้อย แล้วเลิกชาร์จไม่ส่งผลเสียต่อแบตเตอรี่แต่อย่างใดครับ

2. อย่าปล่อยแบตเหลือน้อย

แม้ว่าปัจจุบันสมาร์ทโฟนหรืออุปกรณ์ที่ใช้แบตเตอรี่ส่วนใหญ่จะมีส่วนของซอฟท์แวร์ที่ปิดเครื่องเองเมื่อแบตเตอรี่ เหลือต่ำมากๆ แต่เราก็ควรจะใส่ใจปริมาณแบตเตอรี่ที่คงเหลือเช่นกัน เพราะจากการทดลองข้างต้นจะเห็นว่าถ้าเรา ชาร์จแบตเตอรี่เมื่อแบตเตอรี่เหลือน้อยๆ จะทำให้ตัวแบตเตอรี่เสื่อมสภาพเร็วเพราะฉะนั้นการชาร์จบ่อยๆ จะช่วยลดปัญหานี้ได้ครับ

3. ใฃ้จนแบตหมดไปเลยบ้าง 1-3 เดือนครั้ง

เอ๊ะยังไง? ไหนข้อที่แล้วเพิ่งบอกว่าไม่ควรปล่อยให้แบตเหลือน้อยแล้วคราวนี้มาบอกให้ปล่อยแบตให้เหลือน้อยๆ มันมี สาเหตุครับ เชื่อว่าหลายๆ คนน่าจะเคยเจอเหตุการณ์ที่ดูเวลาที่ใช้งานได้ของแบตเตอรี่ว่าใช้ได้อีกกี่ชั่วโมง กี่นาที แว้บแรกเห็นชั่วโมงกว่าสบายใจ ไม่กี่นาทีบอกมาบอกเหลือไม่ถึงชั่วโมงซะอย่างงั้น การที่ระบบคำนวณเวลาใช้งาน แบตเตอรี่คลาดเคลื่อนเกิดจากการที่เราชาร์จเป็นช่วงสั้นๆ บ่อยเกินไปนั่นเองวิธีป้องกันปัญหานี้คือปล่อยให้แบตเตอรี่เหลือน้อยๆ แล้วชาร์จให้เต็มสักครั้งนึงทุกๆ 1-3 เดือนครับ

4. อย่าปล่อยแบตร้อน จะลดทอนประสิทธิภาพ

การที่ให้แบตเตอรี่โดนความร้อนหรือทิ้งตัวเครื่องสมาร์ทโฟนไว้ในที่ร้อนนั้นไม่เป็นผลดีต่อแบตเตอรี่ครับ จากการทดลองที่ได้อ้างอิงไว้ข้างบน การที่แบตเตอรี่เจอความร้อนมากๆจะทำให้แบตเตอรี่เสื่อมเร็วความจุของแบตเตอรี่ก็จะลดลงครับ ดังนั้นพยายามหลีกเลี่ยงการวางสมาร์ทโฟนไว้ในที่ร้อน กลางแดด หรือหลีกเลี่ยงการใช้งานหนักจนเกิด ความร้อนสูงครับ

สำหรับคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊กนั้น การถอดแบตเตอรี่ออกแล้วใช้การเสียบไฟเข้าโดยตรงก็เป็นวิธีการหนึ่ง แต่ก็มักจะพบปัญหาตามมาในกรณีที่ไฟฟ้าดับอาจจะส่งผลให้ข้อมูลหายหรือทำให้ฮาร์ดแวร์ขัดข้องได้ ทำให้การหลีกเลี่ยงความร้อนจากตัวเครื่องเป็นไปได้ยาก แต่ก็มีวิธีหนึ่งที่พอจะช่วยได้คือการหาอะไรมารองใต้ตัวเครื่องเพื่อให้ความร้อนระบายออกได้ดีขึ้นครับ

5. เลี่ยงการใช้งานระหว่างชาร์จ

ถ้าเป็นไปได้ควรจะปิดเครื่องขณะชาร์จครับ เพราะการที่เปิดเครื่องใช้งานอย่างต่อเนื่อง จะทำให้มีการทำงานที่อาศัยไฟจากแบตเตอรี่ เมื่อที่ชาร์จปล่อยไฟเข้ามาแล้วพบว่ามีการโดนแบ่งไฟไปก็จะเพิ่มปริมาณกระแสเพิ่ม การชาร์จไฟโดยที่มีกระแสไฟฟ้าสูงก็ จะส่งผลให้ทั้งที่ชาร์จและอุปกรณ์ที่ชาร์จร้อน ซึ่งทั้งกระแสไฟที่มากกว่าปกติและความร้อนที่เกิดขึ้นล้วนเป็นสาเหตุที่ ทำให้แบตเตอรี่เสื่อมเร็วถ้าหากเราปิดเครื่องหรือหลีกเลี่ยงการใช้งาน ที่ชาร์จก็จะสามารถปล่อยไฟให้ที่ระดับปกติ กระแสไฟฟ้าไม่สูงเกินไปซึ่งทำ ให้เกิดความร้อนน้อยกว่าและปลอดภัยกว่าครับ

6. สามารถเสียบชาร์จค้างไว้ได้ ถ้าที่ชาร์จและแบตมีระบบตัดไฟ

ที่ชาร์จและแบตเตอรี่ของอุปกรณ์พกพาสมัยนี้ส่วนใหญ่จะมีระบบตัดไฟเมื่อชาร์จเต็มอยู่แล้วครับดังนั้นไม่ต้องห่วงว่า ชาร์จทิ้งไว้นานๆแล้วจะมีปัญหา แต่ในทางกลับถ้าหากที่ชาร์จหรือแบตเตอรี่ที่ใช้นั้นไม่ใช่ของแท้หรือไม่ได้มาตรฐานก็เสี่ยงอยู่ครับ เพราะมันอาจจะไม่มีระบบตัดไฟอยู่ภายในก็เป็นได้ เช่น ที่ชาร์จไม่มีระบบตัดไฟและคาดหวังให้แบตเตอรี่ตัดไฟเอง หรือ แบตเตอรี่ที่ไม่มีการตัดไฟหวังพึ่งให้ที่ชาร์จตัดไฟเอง ลองคิดดูสิครับว่าถ้าที่ชาร์จและ แบตเตอรี่คู่นี้มาเจอกันจะเกิดอะไรขึ้น ดังนั้นควรจะหลีกเลี่ยงของที่ลอกเลียนแล้วหันมา ใช้แบตเตอรี่ของแท้ ที่ชาร์จ ของแท้จะดีที่สุดครับไม่งั้นอาจจะเกิดเหตุการณ์แบบ xphone ที่ระเบิดระหว่างชาร์จก็เป็นได้ Tongue

Charger Doctor indicates no power added after fully charged Charger Doctor (ตัววัดไฟเวลาชาร์จเข้าเครื่อง) แสดงผลให้เห็นว่าแบตเต็มแล้ว ก็แทบจะไม่มีการจ่ายไฟเข้าไปเพิ่มอีก

7. อย่าอัดประจุเพิ่มด้วยที่ชาร์จไฟแรงๆ

บางคนอาจจะเคยสังเกตว่า ถ้าหากเรานำเอา Charger ที่มีความต่างศักย์สูง (V สูงๆ) มาชาร์จไฟเข้าเครื่องเรา จะทำให้ใช้เครื่องใช้งานได้ยาวนานกว่าเดิมนั่นก็เป็นเพราะว่าเจ้าที่ชาร์จไฟเหล่านั้นสามารถอัดไฟได้แรงขึ้นและชาร์จไฟเข้าไปได้มากกว่า 100% ของที่เก็บนั่นเอง ถ้าเปรียบเทียบก็คงเหมือนเราสามารถยัดของลงถุงได้ถ้าเราออกแรงยัดมันเพิ่มอีกหน่อย แต่ก็ต้องอย่าลืมว่าถ้าเรายัดบ่อยๆจะถุงก็อาจจะเสียหายหรือเสื่อมสภาพเร็วกว่าปกติ เช่นเดียวกับแบตเตอรี่ของเรานั่นเอง ฉะนั้นทางทีดีเลือกใช้ที่ชาร์จที่มากับเครื่องของเราเองเป็นดีที่สุดครับ

ไฟที่ชาร์จด้วยความต่างศักย์สูงๆจะทำให้ได้ประจุสูงกว่าความจุจริง แต่ลดรอบการใช้งานอย่างรวดเร็วเช่นกัน

8. ชาร์จครั้งแรก ไม่จำเป็นต้องนาน

ถ้าเป็นสมัยก่อนพวกเราเข้าใจกันว่าเวลาซื้อเครื่องอะไรสักอย่างมาแล้วมันทำงานด้วยแบตเตอรี่จะต้องเสียบชาร์จทิ้ง ไว้นานๆ ก่อนถึงจะดี ใช่ครับนั่นคือวิธีใช้งานที่ถูกต้อง แต่เป็นสำหรับแบตเตอรี่รุ่นเก่าประเภทนิกเกิลแคดเมียมครับ เนื่องจากแบตเตอรี่ลักษณะนี้มีจะพฤติกรรมที่เรียกว่า Memory Effectคือเมื่อถูกชาร์จไฟไประดับหนึ่งแล้วเลิกชาร์จ ตัวแบตเตอรี่จะเข้าใจว่า ณ จุดที่เลิกชาร์จคือจุดสูงสุดของความจุของมันและจะทำให้แบตเตอรี่ปรับความจุมาอยู่ที่ ระดับนั้นไม่สามารถทำให้ความจุสูงกว่านั้นได้ ทำให้การชาร์จแต่ละครั้งควรจะชาร์จให้เต็มๆ ไป แต่สำหรับแบตเตอรี่ ประเภทลิเธียมนั้นไม่มีพฤติกรรมลักษณะนี้ครับ ดังนั้นเราจะชาร์จแล้วเลิกชาร์จเมื่อไรก็ได้ครับ

วิธีการเก็บรักษาแบตเตอรี่ที่ไม่ได้ใช้งาน

แบตเตอรี่ที่ถูกชาร์จไว้เต็มนั้นจะมีแรงดันไฟฟ้าสูง ซึ่งเป็นสภาพที่ แบตเตอรี่มี "ความเครียด" (Stress) การที่แบตเตอรี่มี ความเครียดสูงนั้นจะส่งผลต่อการเสื่อมของแบตเตอรี่รวดเร็ว กว่าสภาพที่มีความเครียดต่ำ (ดังที่เห็นว่าเวลาซื้อเครื่องใหม่ ไฟในแบตจะชาร์จมาให้ไม่เต็ม เพื่อการถนอมแบตสูงสุดนั่นเอง) จากผลการทดลองระบุว่า ปริมาณแบตเตอรี่ที่ถือว่ามีความเครียดต่ำคือประมาณ 40% ของความจุ ดังนั้นถ้าจะปิดเครื่องทิ้งไว้ ก็ให้แบตเตอรี่ เหลือสักประมาณ 40% จะถือว่าดีต่อแบตเตอรี่ครับ 


เป็นอย่างไรบ้างครับสำหรับคำแนะนำเหล่านี้ มีเพื่อนๆ คนไหนที่ทำอยู่แล้วบ้างหรือเปล่า หรือถ้าเพื่อนๆ คนไหนที่ไม่ เคยทราบมาก่อนก็น่าจะได้แนวทางนำไปใช้ได้ แม้ว่าข้อมูลที่นำมาเสนอก็เป็นผลการทดสอบที่ผ่านมาระยะหนึ่งแล้ว และแบตเตอรี่ในปัจจุบันนั้นก็มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ประสิทธิภาพก็สูงขึ้นเรื่อยๆ แต่ละยี่ห้อก็มีลักษณะที่แตกต่างกันไป แต่ด้วยโครงสร้างที่ยังเป็นแบตเตอรี่ประเภท Li-Ion ก็ทำให้สามารถอ้างอิงผลการทดสอบดังกล่าวในการใช้ เป็นแนวทางในการดูแลรักษาแบตเตอรี่ได้ครับ

ถ้าหากมีข้อสงสัยเพิ่มเติมหรือบทความมีข้อผิดพลาดประการใด้ สามารถแสดงความคิดเห็นไว้ได้เลยครับ แล้วจะมาช่วยแก้ไขข้อข้องใจให้ครับ


 

สำหรับที่มาของข้อมูลการทดลองต่างๆ รวมถึงคำแนะนำการใช้งานแบตเตอรี่ที่เราได้นำเสนอนั้น เราได้อ้างอิงจาก ทางเว็บไซต์ Battery University ซึ่งเป็นเว็บไซต์ที่ตั้งขึ้นโดยบริษัท Cadex Electonics

บริษัทนี้เป็นบริษัทชั้นนำระดับโลกในด้านการทดสอบประสิทธิภาพของแบตเตอรี่รวมทั้งยังผลิต อุปกรณ์ที่ใช้งานเกี่ยวกับแบตเตอรี่ไม่ว่าจะเป็น เครื่อง วิเคราะห์สภาพแบตเตอรี่, ที่ชาร์จแบตเตอรี่ หรือ อุปกรณ์เฝ้าสังเกตแบตเตอรี่ โดยเป้าหมายของการตั้งเว็บไซต์ขึ้นมานั้นก็เพื่อที่จะให้ความรู้เกี่ยวกับแบตเตอรี่ แก่ผู้สนใจได้ศึกษาได้ฟรีครับ โดยเนื้อหาจะอ้างอิงจากหนังสื่อ "Batteries in a Portable World – A Handbook on Rechargeable Batteries for Non-Engineers"ที่เขียนโดยคุณ Isidor  Buchmannผู้ก่อตั้งบริษัทครับ

Source: Battery University (1), (2), (3)

เตรียมพบแบตเตอรี่ชนิดใหม่ Aluminium-Ion ถูก ปลอดภัย ชาร์จไวใน 1 นาที ผลงานนักวิจัยสแตนฟอร์ด

$
0
0

 

Hongjie Dai และคณะนักวิจัยแห่งมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดประเทศสหรัฐอเมริกาได้พัฒนา แบตเตอรี่อลูมิเนียม-ไอออน (Aliuminium-Ion) รูปแบบใหม่ ที่สามารถชาร์จแบตเตอรี่จนเต็มได้ในเวลาเพียง 1 นาทีเท่านั้น ต้นทุนราคาถูกกว่าเก่าและมีความปลอดภัยสูงกว่าแบตเตอรี่ประเภทลิเธียม-ไอออน (Lithium-Ion) ที่เสี่ยงต่อ การลุกไหม้หรือระเบิดได้ โดยแบตเตอรี่อลูมิเนียม-ไอออนตัวใหม่นี้ แม้จะโดนเจาะเข้าตรงกลางจนทะลุ ก็ไม่เกิดไฟลุกไหม้แต่อย่างใดและยังสามารถทำงานต่อไปได้อีกระยะหนึ่ง

แบตเตอรี่ชนิดนี้สามารถทนต่อการบิดงอได้ด้วย ซึ่งน่าจะเป็นประโยชน์สำหรับการนำไปใช้ในโทรศัพท์ที่สามารถบิดโค้งได้ ขั้วของแบตเตอรี่แบบใหม่นี้ทำมาจากอลูมิเนียมกับแกรไฟต์ (Graphite) จากการทดสอบพบว่าแบตเตอรี่อลูมิเนียม-ไอออนตัวนี้มีรอบการใช้งาน (Charge Cycle) มากถึง 7,500 รอบโดยที่ไม่สูญเสียปริมาณความจุของแบตเตอรี่เลยซึ่งแตกต่างจากแบตเตอรี่อลูมิเนียมรุ่นก่อน ที่มีรอบการใช้งานราว 100 รอบก็จะเริ่มสูญเสียความจุลงไปทีละนิด

แบตเตอรี่ลิเธียม-ไอออนที่ถูกนำมาใช้กับโทรศัพท์มือถือและคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊กนั้นมีรอบการใช้งาน อยู่ที่ประมาณ 1000 รอบเท่านั้น ด้วยข้อได้เปรียบในเรื่องรอบการใช้งานของแบตเตอรี่อลูมิเนียม-ไอออนบวกกับการที่สามารถชาร์จจนเต็มได้ในเวลาเพียง 1 นาที ทำให้แบตเตอรี่อลูมิเนียม-ไอออนนั้นอาจจะเป็นทางเลือกใหม่ของแบตเตอรี่สำหรับอุปกรณ์พกพาในอนาคต

ถูกเจาะก็ยังใช้งานได้อยู่พักหนึ่ง

แม้ว่าแบตเตอรี่อลูมิเนียม-ไอออนที่ถูกพัฒนาขึ้นมาใหม่นี้จะมีต้นทุนถูกกว่าแบตเตอรี่ลิเธียม-ไอออน แต่ก็มีข้อเสียเช่นกัน นั่นคือแบตเตอรี่ตัวใหม่ยังไม่สามารถสร้างแรงดันไฟฟ้า (volt) ได้มากเท่าลิเธียม-ไอออนอย่างไรก็ตามคุณ Dai ได้บอกว่าถ้าหากพัฒนาวัสดุที่ใช้ทำขั้วของแบตเตอรี่เพิ่มเติม ก็น่าจะสร้างแรงดันไฟฟ้าระเดียวกับลิเธียม-ไออนได้

คลิปสาธิตการทำงาน

 

 

ที่มา: Phone Arena

Google ดึงตัวแบตเตอรีกูรูจาก Apple หวังพัฒนาแบตเตอรี่รุ่นใหม่ให้เหนือชาวบ้าน

$
0
0

แบตเตอรี่ ถือว่าเป็น ชิ้นส่วนสำคัญชิ้นหนึ่งของอุปกรณ์อิเลกทรอนิกส์ในยุคสมัยนี้เลยก็ว่าได้ ด้วยเหตุที่เราเสพย์ข้อมูลมากขึ้น ทำให้เราจำเป็นต้องใช้แบตเตอรี่มากขึ้น เชื่อว่า ตอนนี้หลายๆคนก็คงพก power bank ติดตัวกันไว้แล้วอย่างแน่นอน ถึงแม้ว่าเราจะเริ่มเห็น เทคโนโลยี fast charge กันมาพอสมควรแล้ว แต่รู้สึกว่าทาง Googleก็ยังไม่พอใจอยู่ดี จึงได้ดำเนินการพัฒนา แบตเตอรี่ ของตัวเองขึ้นมาซะเลย


สำนักข่าว Wall Street Journal ได้บอกว่า นักวิจัยกลุ่มหนึ่งใน สถาบันวิจัย Google X นั้นกำลังทำการค้นคว้าเกี่ยวกับ แบตเตอรี่ lithium-ionที่ใช้ใน สมาร์ทโฟน และ แท็บเล็ต เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของแบตเตอรี่ โดยนักวิจัยกลุ่มนี้มีสมาชิกเพียงแค่ 4 คน เท่านั้น และคนนำทีมก็คือ ดร. Ramesh Bhardwaj หรือ อดีตแบตเตอรี่กูรูของ Appleนั้นเอง

นอกจากนี้ ทาง Google ยังหวังที่จะใช้ แบตเตอรี่ ตัวใหม่นี้ ในการใช้งานร่วมกับโปรเจคอื่นๆ ของทางบริษัท ไม่ว่าจะเป็น Google glass และ Smart Watch ไปนถึง หุ่นยนต์, รถยนต์ขับเคลื่อนด้วยตัวเอง, อุปกรณ์การแพทย์ และ อื่นๆอีกมากมายที่กำลังถูกวิจัยอยู่ใน Google X อีกด้วย

โดยตอนนี้ ยังไม่รู้แน่ชัดว่า งานวิจัยชิ้นนี้ ได้ถูกพัฒนาไปถึงไหนแล้ว เพราะว่าทาง ดร. Ramesh ก็ยังไม่ว่างที่จะออกมาให้สัมภาษณ์กับสื่อ แต่เชื่อว่าในเร็วๆนี้เราคงได้เห็น แบตเตอรี่ ตัวใหม่นี้อย่างแน่นอนครับ

ที่มา: Wall Street Journal via Droid Life

6 วิธียืดอายุแบตเตอรี่สมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตให้อยู่กับเราได้ยาวนานขึ้น

$
0
0

ทีมงาน droidsans ขอแนะนำวิธีดูแลและยืดอายุแบตเตอรี่ของทั้งสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ต ให้อยู่กับเราได้ยาวนานมากขึ้น โดยเริ่มต้นทำความเข้าใจเกี่ยวกับอายุของแบตเตอรี่ และสิ่งที่เรียกว่ารอบการชาร์จหรือ charge cycle

และนี่คือ 6 วิธีดูแลและยืดอายุแบตเตอรี่ของสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตเบื้องต้นแบบง่ายๆ ที่คุณทำได้เองค่ะ
1. อย่าใช้แบตเตอรี่จนเหลือ 0% หรือใช้จนหมดบ่อยๆ
2. ความร้อนและอุณหภูมิสูงทำให้แบตเตอรี่เสื่อมเร็วขึ้น
3. ไม่ควรชาร์จแบตไปด้วยและใช้งานไปด้วย
4. ไม่ควรอัดประจุไฟเข้าสู่แบตเตอรี่
5. ควรใช้สายชาร์จของแท้ เพื่อความปลอดภัย
6. หากไม่ได้ใช้งาน ควรชาร์จแบตทิ้งไว้อย่างน้อย 50%

Article Thumbnail URL: 
http://i.imgur.com/aiENW82.png
MhaQ65oNMO0

จะเกิดอะไรขึ้นเมื่อแบตเตอรี่ Lithium-Ion ที่อยู่ในสมาร์ทโฟนมีความร้อนสูงเกินไป?

$
0
0

ทุกวันนี้ สมาร์ทโฟนและแท็บเล็ท รวมไปถึง โน้ตบุ๊ค ต่างก็ใช้แบตเตอรี่แบบ lithium-ionกันทั้งนั้น เพราะมีขนาดเล็ก น้ำหนักเบา และ มีอายุการใช้งานที่คอนข้างนาน แต่ว่าในยุคสมัยนี้ คนเรานั้นเสพย์อุปกรณ์สื่อสารเหล่านี้มากขึ้น เลยทำให้แบตหมดไว จึงจำเป็นต้องชาร์จอุปกรณ์เหล่านั้นอยู่บ่อยๆ และการชาร์จแต่ละทีก็จะก่อให้เกิดความร้อนในแบตขึ้นมา บางทีร้อนมากจนไม่สามารถที่จะถือไว้ในมือได้เลยทีเดียว โดยตอนนี้ ได้มีการศึกษาจากกลุ่มนักวิจัยจาก University Colledge of London ว่าจะเกิดอะไรขึ้นถ้าแบต lithium-ion นั้นมีความร้อนสูงเกินไป 

จากวิดีโอด้านบนเราจะเห็นว่า แบต lithium-ionได้ถูกเพิ่มความร้อนไปจนถึง 250-300 องศาเซลเซียส ซึ่งแบตจะเกิดปฏิกิริยาต่อความร้อน เมื่อความร้อนสูงขึ้นแต่ว่าเซลล์ภายในไม่สามารถที่จะระบายความร้อนออกมาได้ทัน ก็จะเกิดเหตุการณ์ที่เรียกว่า "Thermal Runaway"ทำให้แบตระเบิดตัวออก

แต่ว่าการเกิด thermal runaway นี้จะเกิดขึ้นกับแบตที่ไม่มีการป้องกันภายในเท่านั้น สำหรับแบตที่มีการป้องกันภายในจะต้องใช้อุณหภูมิสูงถึง 1,000 องศาเซลเซียส ซึ่งถ้าถึงตอนนั้นสายทองแดงภายในก็จะละลายและก่อให้เกิด thermal runaway ทันที 

ถึงแม้ว่าอุณหภูมิสูงขนาด 250-300 และ 1,000 องศา จะไม่สามารถเกิดจริงในการใช้งานๆทั่วไป แต่เราก็เคยเห็นว่ามีแบตเตอรี่ของสมาร์ทโฟนหลายรุ่นที่อยู่ดีๆก็ระเบิดออกมาได้ ซึ่งการศึกษาเหล่านี้ก็เพื่อนำไปสู่การป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์เหล่านั้นนั่นเองครับ

ที่มา: Nature via Android Authority

[How-to] แชร์ประสบการณ์การเปลี่ยนแบต LG Nexus 5 ด้วยตัวเอง

$
0
0

แบตเตอรี่ smartphone พอใช้ไปนานๆ แบตก็จะเริ่มเสื่อม เก็บประจุได้น้อยลง โดยเฉพาะเจ้า Nexus 5ของผมนี้แบตเล็กแค่ 2300 mAh เท่านั้นเอง ตอนนี้อายุได้ปีกว่าๆ แบตเสื่อมหนักมาก ไม่เกินครึ่งวันก็ต้องเสียบชาร์จกันแล้ว จะเอาไปเปลี่ยนที่ร้านก็เจอราคาแพงหูฉี่ ผมเลยตัดสินใจซื้อแบตมาเปลี่ยนเองซะเลย วันนี้เลยจะมาแชร์ประสบการณ์การเปลี่ยนแบต LG Nexus 5กันครับ

 

เจ้า Nexus 5ของผมนั้นอายุราวๆ 1 ปี แต่แบตเสื่อมหนักมาก เพราะผมเสียบชาร์จบ่อย เนื่องจากต้องใช้เครื่องในการทดสอบแอพพลิเคชั่น เสื่อมหนักแค่ไหนหน่ะหรอ ? หนักขนาดที่ว่า ถ้าแบตน้อยกว่า 30% แล้วกดเปิดกล้องถ่ายรูป เครื่องจะดับทันทีเพราะแรงดันไฟไม่พอ T^T

 

เมื่อเริ่มทนอาการแบตเสื่อมไม่ไหว เลยตัดสินใจโทรไปสอบถามร้านที่ซื้อมา ว่าเปลี่ยนแบตราคาเท่าไหร่ (เครื่องผมเครื่องหิ้วครับ และคิดว่าเปลี่ยนกับร้านยังไงก็ถูกกว่าศูนย์) ก็ได้คำตอบจากร้านว่า "1,500 ครับน้อง" ..... หะ!? พันห้า!?แพงไปไหมฟร่ะ ถอยทัพก่อนดีกว่า

 

เย็นวันนั้นก็เลยกลับไปลองหาแบตใน ebayดู (search ว่า Replacement battery Nexus 5) ก็ไปเจอร้านหนึ่งในจีน ราคา 400 กว่าบาทเองแถมมีอุปกรณ์แกะเครื่องให้ด้วย แจ่มสิครับ ซื้อเล..... เดี๋ยวว แล้วจะแกะเครื่องยังไง แกะไม่เป็น ผมก็เลยลองหาในเน็ตเพิ่มเติม ก็ไปเจอเว็บ iFixitแกะเครื่องพร้อมบอกวิธีเปลี่ยนแบตให้เราเรียบร้อย หวานสิทีนี้ รอช้าอยู่ไย รีบกดสั่งแบตมาให้ไว 

เกือบครึ่งเดือนผ่านไป แบตที่สั่งจากจีนก็มาถึง ของที่มีมาให้ในราคา 400 บาทคือ

  • ตัวแบตเตอรี่ (BL-T9)
  • ไขควงขนาดเล็ก 5 อัน
  • อุปกรณ์งัดแงะพลาสติก แบบก้าน 2 อัน แบบที่คล้ายๆปิกกีตาร์ 2 อัน
  • จุกสูญญากาศสำหรับใช้จับหน้าจอ 1 อัน (คงไม่ได้ใช้)

ขอบอกไว้ก่อนตรงนี้ว่าอุปกรณ์ที่ต้องใช้นั้นยังมีอีก เพราะอะไรติดตามต่อไป เกริ่นมาซะยาว มาเริ่มกันแกะเครื่องกันเลยดีกว่า 

สำหรับขั้นตอนการแกะเครื่อง ต้องขอบคุณเว็บ iFixitที่ได้ทำ Guildline การแกะเครื่องเลี่ยนแบต Nexus 5 ไว้ให้เราได้รู้ขั้นตอนคร่าวๆ

 

ขั้นตอนการเปลี่ยนแบต LG Nexus 5

1. เริ่มโดยการใช้ที่แงะแบบก้านเสียบเข้าไปที่ฝาหลังด้านบน ค่อยๆไล่จากตรงรูที่เสียบหูฟังไปก็ได้ ตรงนี้มันจะแน่นมาก ใจเย็นๆ ค่อยๆงัดให้ตัวล็อคมันหลุดออก

 



2. พอด้านบนหลุดออกแล้วก็ค่อยๆเลื่อนลงมางัดด้านข้างต่อ ตรงนี้ให้สังเกตจุดที่เป็นคลิบล็อกไว้ตามภาพ พยายามงัดให้ถูกจุดแล้วมันจะหลุดง่ายกว่า ถ้างัดผิดจุดระวังฝาหลังจะโก่งนะ

3. พอไล่มาเรื่อยๆ มันจะมีเทปกาวสองหน้าติดไว้ที่ฝาหลังด้านล่าง ใช้ตัวงัดแบบแบนเสียบเข้าไปในร่องแล้วค่อยๆรูด แล้วฝาหลังก็จะหลุดออกมา


4. พอเปิดฝาหลังได้แล้วมาดูกันที่ส่วนบนของเครื่อง เราจะต้องไขน๊อตออกทั้งหมด 6 ตัว แต่สิ่งที่ได้เห็นนั้นกลับทำให้ผมต้องอึ้ง! .....

หัวน๊อตมันดันเป็น 3 แฉก!!!เดี๋ยยยยวววนะ ใน iFixit ก็เป็นหัว 4 แฉกธรรมดาหนิ แล้วทำไมของเราเป็น 3 แฉก ไขควง 5 อันที่ให้มาก็ไม่มีแบบ 3 แฉกด้วย งานเข้าสิทีนี้ ต้องไปหาซื้อชุดไขควงมาใหม่ทั้งชุด เพื่อใช้เพียง 1 หัว (Y2.0 หัว 3 แฉกขนาด 2 มิลลิเมตร)



จากการคาดเดา คิดว่าคงเป็นเพราะว่า Nexus 5 ผมนั้นเป็นเครื่องหิ้วญี่ปุ่น แต่ของ iFixit นั้นเป็นเครื่องอเมริกา ก็เลยใช้หัวน๊อตต่างกัน

หลังจากรอไขควงใหม่มาส่งอีก 2 วัน เราก็มาแกะเครื่องกันต่อ ไขน๊อตทั้ง 6 ตัวออกมา แล้วก็จะสามารถถอดหน้ากากกัน mainboard สีดำออกมาได้แบบนี้ 

5. ค่อยๆ ใช้ที่คีบเล็กๆ ปลดสายสีเหลืองที่พาดอยู่บนแบตเตอรี่ออก ดึงขึ้นมาตรงๆเลยนะครับ

6. ปลดขั่วของแบตเตอรี่ที่เชื่อมกับ mainboard ออก

7. มาถึงขั้นตอนที่ยากที่สุด ดึงตัวแบตเตอรี่ออกมา แบตจะถูกยึดไว้กับตัวเครื่องด้วยเทปกาวสองหน้าที่แน่นหยั่งกับกาวตราช้าง! ลองใช้ที่งัดพลาสติกงัดดูแบบ iFixit ผลที่ได้คือ หัก!

วิธีที่ง่ายที่สุดคือ ดึงขั่วที่เพิ่งปลดตรงข้อ 6. ขึ้นให้พอมีช่องว่าง แล้วที่งัดแบบแบนยัดเข้าไป ค่อยๆดันเข้าไปเพื่อให้กาวหลุดออก แล้วค่อยๆใช้แรงมากขึ้นเรื่อยๆเพื่อดึงมันขึ้นมา

อย่าใช้อะไรที่แหลมคมไปงัดมันเด็ดขาดถ้าแบตมันเป็นรูขึ้นมาอาจจะเกิดระเบิดได้นะครับ ระวังให้มากๆ

8. ที่เหลือก็ง่ายๆแล้วล่ะ เอาแบตใหม่มาเล็งๆ ให้ขั่วตรงกับช่องบน mainboard พอดี แล้วก็วางลงไปเลย

9. เชื่อมขั่วแบตเข้ากับ mainboard

10. เชื่อมสายสีเหลืองกับ mainboard

11. ลองเปิดเครื่องดูก่อนว่าติดไหม ถ้าไม่ได้ลองถอดสายแล้วเสียบใหม่ หรือลองชาร์จแบตดู แบตอาจจะหมดเกลี้ยงอยู่ก็ได้

12. พอมั่นใจแล้วว่าเครื่องไม่พังก็ประกอบเครื่องกลับ วางหน้ากากกัน mainboard สีดำกลับเข้าไป ไขน๊อต 6 ตัวให้ครบ

13. ปิดฝาหลังกดให้แน่นๆ ไล่ตามขอบให้สนิดๆ เท่านี้ก็เรียบร้อย เราก็จะได้เจ้า Nexus 5 แบตใหม่เอี่ยม อึดทึกทน 2300 mAh เหมือนซื้อใหม่เลย

 

สรุปเสียเงินค่าเปลี่ยนไปเท่าไหร่ ?

สรุปว่าการเปลี่ยนเปลี่ยนแบตเองครั้งนี้ เสียเงินไปทั้งหมด 800 กว่าบาท เป็น ค่าแบต 400 บาท และค่าชุดไขควงที่ต้องซื้อเพิ่ม 400 บาท (ถ้าใครเป็นเครื่องศูนย์ หรือเครื่องอื่นๆที่หัวน๊อตเหมือน iFixit ก็ไม่ต้องซื้อเพิ่ม) ถูกกว่าไปให้ร้านเปลี่ยนให้หลายเท่าตัว ไขควงที่ซื้อมาก็เก็บไว้ใช้กับงานอื่นๆได้ด้วย

 

เปลี่ยนแบตเอง มีข้อเสียไหม ?

ที่ฝาหลังของ Nexus 5 นั้นเต็มไปด้วยเสาสัญญาณ ทั้ง WiFi, 3G, Bluetooth แล้วก็มี NFC, Wireless Charging pad, และ มอเตอร์สำหรับสั่นเครื่องอยู่ด้วย หลังจากที่เปลี่ยนแบตเองก็พบว่า NFC กับ Wireless Charging ของเจ้า Nexus 5 นั้นใช้ไม่ได้ซะแล้ว น่าจะเป็นเพราะไปงัดผิดที่ตอนเปิดฝาหลัง ทำให้ขั่วของ NFC และ Wireless Charging pad ไม่ติดกับตัวเครื่อง เดี๋ยวคงต้องหาอะไรไปดันมันซะหน่อย

เพิ่มเติม:ตอนนี้ Wireless Charging กับ NFC กลับมาใช้ได้แล้ว ตรงกลางฝาหลังด้านบนจะมีตัวล๊อคอีก 1 ตัว ถ้าไม่กดให้เขาที่มันจะดันขั่ว Wireless Charging กับ NFC ทำให้ใช้ไม่ได้ ต้องกดบริเวณตัว "S"ของคำว่า NEXUS ให้แน่นๆด้วยครับ - credit @zanuker

 

วิธีดูแลรักษาแบตให้อยู่กับเราไปนานๆ

พอได้แบตใหม่กันมาแล้ว ก็อย่าลืมที่จะดูแลมันดีๆ ถ้าใครอยากรู้ว่าใช้มือถือยังไงให้แบตอยู่กับเราไปนานๆ ลองเข้าไปอ่านกันได้ใน Blog [ไขข้อข้องใจ] แบตเตอรี่ชาร์จอย่างไรให้อยู่กับเราไปนานๆ

 

การแกะเครื่องเองมีความเสี่ยง ผู้แกะควรศึกษาข้อมูลก่อนการแกะ

การแกะเครื่องเองนั้นมีความเสี่ยงที่จะทำให้เครื่องพังได้ ยิ่งถ้าไม่มีประสบการณ์แล้วก็จะเสี่ยงเป็นพิเศษ จุดประสงค์ที่เขียน blog นี้ขึ้นมาเพราะอยากจะแชร์ประสบการณ์ตรงนี้ให้เพื่อนๆได้รู้กัน เพื่อลดความเสี่ยงที่จะเกิดข้อผิดพลาดต่างๆ อะไรที่ทำได้เองผมก็ไม่อยากให้เพื่อนๆไปเสียเงินให้กับร้านครับ โก่งราคากันโคตรแพง แบต 400 คิดค่าเปลี่ยน 1500 #บ่นๆๆ เปลี่ยนเองประหยัดเงินไปได้เยอะเลย

หวังว่า blog นี้จะเป็นประโยชน์กันเพื่อนๆชาว Nexus 5ที่กำลังแบตเสื่อมได้ที่นะครับ อย่าทนแบตเสื่อมครับ มาเปลี่ยนแบตกันเถอะ! ไว้มี Tips อะไรดีๆของ Nexus 5จะเอามาแชร์กันอีกนะ : )

MIT โชว์แบตเตอรี่แบบใหม่ จุได้เพิ่มขึ้น 3 เท่า สามารถชาร์จเต็มได้ใน 6 นาที

$
0
0

แม้ว่าในปัจจุบันจะมีเทคโนโลยีเกี่ยวกับแบตเตอรี่โผล่มามากมายและน่าจะเป็นอนาคตสำหรับการออกแบบแบตเตอรี่เพื่อให้มีประสิทธิภาพ และมีอายุการใช้งานที่ยาวนานขึ้น แต่เทคโนโลยีเหล่านี้มักจะมาพร้อมกับต้นทุนที่แพงทำให้ต้องปรับพัฒนาต่อไปและยังไม่สามารถนำมาใช้ได้จริงในเร็ววัน แต่ล่าสุดทาง MIT (Massachusetts Institute of Technology) ได้เผยข้อมูลงานวิจัยที่ทำร่วมกับมหาวิทยาลัยชิงหัว ประเทศจีนเกี่ยวกับโครงสร้างภายในของแบตเตอรี่แบบใหม่ที่คาดว่าจะนำหลักการไปผลิตและใช้ได้จริงในไม่ช้า

แบตเตอรี่ที่ทาง MITคิดค้นขึ้นมานั้นจะสร้างขั้วไฟฟ้าจากอนุภาคขนาดนาโน (nanoparticles) และมีลักษณะโครงสร้างเหมือนกับไข่ คือ มีขั้วบวกที่เป็นเปลือกหุ้มขั้วลบอยู่ ทีมวิจัยเรียกลักษณะนี้ว่าเป็น เปลือกและไข่แดง (shell-and-yolk) โดยสำหรับขั้วบวกนั้นจะใช้ไทเทเนียมไดออกไซด์ และใช้อลูมิเนียมเป็นขั้วลบ ระหว่างกลางของเปลือกและไข่แดงจะมีช่องว่างอยู่เพื่อให้ขั้วลบสามารถขยายและหดตัวจากการถ่ายประจุได้อย่างอิสระ ต่างจากโครงสร้างแบบเก่าที่อยู่ติดกันและการขยายและหดตัวอาจส่งผลให้ส่วนสัมผัสในการส่งไฟฟ้าหลุดจากการเชื่อมต่อได้

แบตเตอรี่ที่ใช้โครงสร้างลักษณะนี้จะสามารถสะสมประจุได้มากขึ้นกว่าเดิมราว 3 เท่าในอัตราการชาร์จแบบปกติ (ปัจจุบันจุได้ 0.35 Ah/gram, แบบใหม่จุได้ 1.2Ah/gram) และสำหรับการชาร์จด้วยไฟปริมาณมากๆ จากการทดลองชาร์จแบตเตอรี่จนเต็มใน 6 นาที เป็นจำนวน 500 cycles จะทำให้สามารถสะสมประจุได้ลดลงมาอยู่ที่ 0.66 Ah/gram แต่ก็ยังมากกว่าความจุของแบตเตอรี่ลิเธียมไอออนในปัจจุบันอยู่ดี

อ่านดูแล้วเป็นงานวิจัยที่น่าสนใจมากทีเดียวครับ ยิ่งทางทีมวิจัยบอกว่าจะสามารถนำมาผลิตใช้ได้จริงได้ก่อนเทคโนโลยีตัวอื่นๆ ก็เป็นไปได้ว่าเราอาจจะได้เห็นแบตเตอรี่โครงสร้างนี้มาอยู่ในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และโทรศัพท์มือถือในอีกไม่ช้าครับ 

 

ที่มา: MIT, Phone Arena

แอบบอกผ่านคลิป... iPhone 6s มาพร้อมแบตเตอรี่ที่ขนาดเล็กลงกว่า iPhone 6

$
0
0

 

แอปเปิลเองก็เป็นบริษัทหนึ่งที่ไม่ค่อยพูดถึงเรื่องรายละเอียดเชิงเทคนิคของผลิตภัณฑ์อุปกรณ์พกพาตัวเองเท่าไรนัก ผิดกับฝั่ง Android ที่เรียกว่าใชสเปคเข้าสู้เข้าข่มกัน อย่างไรก็ตามสิ่งที่ผู้ใช้หลายๆ คนอดสงสัยไม่ได้เกี่ยวกับ iPhone 6sที่เพิ่งออกมาใหม่ก็คือเรื่องเวลาในการใช้งานและขนาดของแบตเตอรี่ แม้ว่าแอปเปิลจะไม่ได้บอกและไม่ได้เขียนรายละเอียดไว้บนหน้าเว็บไซต์ แต่ในคลิปโฆษณา 3D Touch ของ iPhone 6sนั้นมีข้อมูลซ่อนอยู่ครับ

ในคลิปที่แอปเปิลใช้แนะนำให้ผู้คนรู้ถึงความสามารถของ 3D Touch ได้มีการอธิบายถึงเทคโนโลยีเบื้องหลังว่ามีการทำงานอย่างไร ในช่วงเวลา 2.51ของคลิปที่แอปเปิลจะพูดถึงการตอบสนองของ Taptic Engine จะเห็นแบตเตอรี่วางอยู่ติดกันพร้อมป้ายกำกับไว้ว่า 1,715 mAh นั่นก็หมายถึงว่า iPhone 6s นั้นมีความจุแบตเตอรี่อยู่ที่ 1,715 mAhนั่นเอง ซึ่งน้อยกว่าแบตเตอรี่ของ iPhone 6 ที่มีความจุอยู่ที่ 1,810 mAh อยู่ 95 mAh 

แม้ความต่างอาจจะดูเล็กน้อยแต่เราก็ยังไม่ทราบว่า iPhone  ตัวใหม่นี้จะสามารถใช้งานจริงได้นานแค่ไหน ถ้าว่ากันตามตัวเลขแล้วอาจจะมีเวลาใช้งานน้อยลง แต่ก็ตัดสินจากสเปคอย่างเดียวไม่ได้ เพราะอย่าง Galaxy Note 5 ที่แบตมาน้อยกว่า Galaxy Note 4ก็ยังสามารถใช้งานได้นานกว่ารุ่นเก่าที่แบตเยอะกว่าเสียอีก

 

สำหรับการใช้งาน iPhone 6sนั้นจะเป็นอย่างไรก็เรื่องหนึ่ง แต่หลังจากงานเปิดตัวได้ไม่นาน หนึ่งในคู่แข่งในตลาดมือถืออย่างโซนี่ก็ได้ทวีตข้อความแซวแอปเปิลเช่นเดียวกับปีที่แล้วโดยเป็นข้อความกวนๆ ว่า "เฮ่ สิริ แล้วเรื่องการใช้งานแบตเตอรี่ล่ะ" (Hey Siri, what about the battery life) และเขียนคำตอบเองว่า "เปลี่ยนไปใช้โซนี่เหอะ" (Switch to Sony) ซึ่งก็เป็นการแซวกันกึ่งเล่นกึ่งจริงครับ เพราะในตลาดมือถือเจ้าดังๆ ตอนนี้โซนี่เองก็เป็นผู้นำเรื่องอายุแบตเตอรี่ที่ใช้งานได้ยาวนานที่สุด โซนี่ก็เลยถือโอกาสนี้แอบแซะซะเลย

 

ที่มา: Phone Arena (1, 2, 3)

10 เหตุผล ที่ทำให้แบตเตอรี่มือถือชาร์จแบตได้ช้า และวิธีการแก้ปัญหา

$
0
0

แบตเตอรี่สมาร์ทโฟนในสมัยนี้นั้นถือว่าพัฒนาไม่ทันตามความแรงของเครื่องที่แต่ละวันจะยิ่งเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ แบตเตอรี่ของสมาร์ทโฟนส่วนใหญ่ก็มักจะอยู่รอดไม่ครบวัน ซึ่งการแก้ปัญหาเบื้องต้นก็คือการยัดแบตความจุใหญ่ๆมาให้ แต่ว่าปัญหาที่เชื่อว่าหลายๆ คนคงเจอกันบ่อยๆ คือ การชาร์จไฟ ไม่ว่าจะเป็น ชาร์จช้า หรือชาร์จไม่เข้า ซึ่งสาเหตุนั้นก็มีอยู่หลายอย่างด้วยกัน วันนี้เราลองมาดู 10 สาเหตุที่ทำให้ชาร์จแบตเตอรี่มือถือช้า และวิธีการแก้ไขปัญหาเหล่านี้กันครับ

1. ใช้สายชาร์จที่มีปัญหา

เมื่อเราเจอปัญหาการชาร์จไฟช้า สิ่งแรกที่ควรตรวจสอบก็คงหนีไม่พ้นสายชาร์จของเราก่อน เพราะสายชาร์จนั้นเป็นส่วนที่เสียหายง่ายที่สุด อาจจะเกิดจากการที่เราหักงอ หรือสายไฟด้านในขาด นอกจากนี้การที่เราเสียบเข้า เสียบออก บ่อยๆ ก็อาจจะทำให้เขี้ยวที่เอาไว้ล็อคบริเวณ microUSB นั้นหักได้ครับ ซึ่งปัญหาการชาร์จไฟช้าส่วนใหญ่ก็เกิดจากการที่ใช้สายชาร์จที่มีปัญหานี่แหละครับ และการใช้สายที่ไม่มีคุณภาพ ขายกันแบบเหมาโหลราคาถูกๆ หรือสายที่ยาวเกินไป ก็อาจจะเป็นสาเหตุของการชาร์จช้าได้เช่นกัน อ่านเพิ่มเติมได้ที่ http://droidsans.com/usb-cable-charge-testing

วิธีการแก้ปัญหา :เปลี่ยนสายชาร์จดูก่อนครับ เลือกสายที่ดูดีแข็งแรงนิดนึง ถ้าหากว่าเปลี่ยนสายชาร์จแล้วยังเจอปัญหาชาร์จไฟช้าอยู่ ก็แสดงว่าปัญหาไม่ได้อยู่ที่สายชาร์จ

2. ที่จ่ายไฟมีกำลังไม่พอ

ถ้าหากว่าเราลองเปลี่ยนสายชาร์จดูแล้ว ก็ยังเจอปัญหาชาร์จไฟช้าอยู่ ลำดับต่อมาที่ต้องดูก็คือ แหล่งจ่ายไฟของเรามีกำลังไฟพอหรือเปล่า ถ้าหากว่าเราชาร์จกับช่อง USB ของคอมพิวเตอร์ก็แน่นอนอยู่แล้วว่ามันต้องช้า ถึงแม้ว่าจะเป็นช่อง USB 3.0 ก็ตาม เพราะว่ากระแสที่ปล่อยออกมานั้นน้อยกว่าที่ชาร์จไฟแบบผนัง (wall charging) ทั่วไปอยู่เกือบเท่าตัวเลยครับ  

ส่วนการชาร์จด้วยแท่นชาร์จแบบไร้สาย (wireless charging) ก็เป็นอีกเหตุผลหนึ่งเหมือนกันครับ ถึงแม้ว่า Samsung Galaxy Note 5 และ Galaxy S6 edge+ จะมาพร้อมกับ Wireless Fast Charge ก็ตาม แต่ถ้าเทียบกับชาร์จผ่านที่ชาร์จไฟทั่วไปแล้วก็ยังถือว่าช้ากว่าอยู่ดี และมันมีเฉพาะ Note 5 และ S6 edge+ อีกด้วย

วิธีการแก้ปัญหา :ง่ายๆ เลยครับ ใช้ที่ชาร์จไฟแบบผนังแทนการชาร์จไฟผ่านพอร์ต USB ของคอมพิวเตอร์ และการชาร์จด้วยแท่นชาร์จแบบไร้สาย ถ้ามือถือของคุณรองรับเทคโนโลยีการชาร์จไฟแบบเร็ว (fast charging technology) อย่าง Qualcomm QuickCharge หรือ VOOC flash charge ก็สามารถช่วยให้ชาร์จไฟได้เร็วขึ้นเช่นเดียวกันครับ

3. อะแดปเตอร์มีปัญหา 

ข้อที่แล้วนั้นพูดถึงกำลังไฟของที่จ่ายไฟว่าแต่ละอย่างนั้นมีกำลังไฟที่ถูกส่งออกมาไม่เท่ากัน ซึ่งทางที่ดีก็คือใช้ที่ชาร์จไฟแบบผนัง หรือที่เรียกว่าอะแดปเตอร์ แต่ใช่ว่าอะแดปเตอร์นั้นจะไม่มีปัญหานะครับ เพราะว่ามันก็สามารถมีปัญหาได้เช่นเดียวกัน

อย่างเช่นหากว่าเกิดแผงวงจรภายในมีปัญหา ก็จะส่งผลให้กำลังไฟที่ออกมาน้อยเกินไป ทำให้ชาร์จไฟมือถือได้ช้ากว่าปกติ หรืออีกอย่างคือแผงวงจรภายในนั้นเกิดลัดวงจร ก็มีสิทธิที่จะระเบิดได้ครับ 

วิธีการแก้ปัญหา :ถ้าเกิดเห็นว่าชาร์จไฟช้า ลองเปลี่ยนอะแดปเตอร์ดูครับ และอย่าใช้ที่ชาร์จที่มีราคาถูกเกินไป เพราะคุณภาพอาจจะไม่ได้มาตรฐานครับ  

4. มือถือเก่าแล้ว

อันนี้ไม่ได้จะบอกให้ไปซื้อใหม่นะครับ แต่ว่ามันก็เป็นปัญหาหนึ่งที่ทำให้การชาร์จนั้นช้าลงไปเหมือนกัน ถ้าหากว่าเทียบกับมือถือรุ่นใหม่ๆ ที่รองรับ fast charge แล้วละก็จะเห็นได้ถึงความเร็วในการชาร์จที่แตกต่างกันเลยครับ แต่ใช่ว่ามือถือรุ่นใหม่ๆ จะสามารถชาร์จไฟได้เร็วทุกรุ่นนะครับ ขึ้นอยู่กับซอฟท์แวร์และฮาร์ดแวร์ของแต่ละรุ่นอีกด้วย

วิธีการแก้ปัญหา :คงต้องขอข้ามวิธีแก้ปัญหานี้ไปละกันนะครับ ทางแก้อยู่ในกระเป๋าเงินของคุณแล้ว แต่ถ้าอยากจะเปลี่ยนรุ่นเก่าเป็นทุนแล้ว ลองไปตั้งขายใน ห้องซื้อ-ขายโทรศัพท์มือสองและอุปกรณ์ต่างๆของเราดูได้ครับ

5. แบตเตอรี่เสื่อมสภาพ

ในสมัยนี้ เราเริ่มจะเห็นว่ามือถือเรือธงส่วนใหญ่เริ่มที่จะตัดฟีเจอร์ในการถอดเปลี่ยนแบตออกไป เหลืออยู่เพียง LG เจ้าเดียวเท่านั้นที่ยังสามารถถอดเปลี่ยนแบตด้วยตัวเองได้อยู่ ซึ่งถ้าเกิดเหตุการณ์แบตเตอรี่ของเราเกิดเสื่อมสภาพขึ้นมาก็อาจจะมีผลทำให้แบตเตอรี่หมดเร็วขึ้น และชาร์จไฟได้ช้าลงก็เป็นได้

วิธีการแก้ปัญหา :ข้อนี้ก็ขึ้นอยู่กับว่าคุณซื้อมือถือแบบไหนมา ถ้าซื้อแบบเปลี่ยนแบตได้ก็สามารถแก้ไขปัญหาได้ง่ายๆ แต่ถ้าสำหรับที่ใช้มือถือที่ถอดเปลียนแบตด้วยตนเองไม่ได้ก็คงต้องส่งเข้าศูนย์ หรือหาร้านที่รับเปลี่ยนแบตครับ

6. ตัวเราเอง 

การใช้งานมือถือของเราขณะที่ชาร์จแบตอยู่ที่ก็มีผลต่อความเร็วในการชาร์จเหมือนกัน อย่างใครที่ชอบเล่นเกม หรือใช้งานหนักๆ ระหว่างการชาร์จไฟอยู่ก็คงเคยเจอปัญหาชาร์จไฟช้า หรือบางทีชาร์จไฟแล้วไม่เข้าเลย แถมยังลดอีกตะหาก ซึ่งอันนี้เป็นปัญหาของตัวเราเอง ไม่ได้เกิดจากเครื่องเลยครับ

อีกอย่างที่ต้องระวังคือการใช้งานระหว่างการชาร์จไฟอยู่ อาจจะทำให้เกิดความร้อนได้ ซึ่งจะส่งผลกระทบไปยังแบตเตอรี่ของเราได้ และถ้าโชคร้ายสุดๆ ก็อาจจะเกิดการระเบิดได้ครับ

วิธีการแก้ปัญหา :งดใช้งานมือถือระหว่างชาร์จ หรือใช้งานเบาๆ อย่าเล่นเกม หรือทำงานหนักๆ ครับ วางมือถือแล้วไปคุยกับคนในครอบครัวระหว่างชาร์จก็ได้นะ Smile

7. แบ็คกราวน์แอปจอมดูด

ถึงแม้ว่าหน้าจอของเราจะเป็นส่วนที่ดูดแบตมากที่สุด แต่ว่าเหล่าแอปต่างๆ ที่เราโหลดมาใช้ก็มีส่วนเช่นเดียวกันนะครับ บางทีแอปเหล่านั้นก็มีการเรียกใช้งานขึ้นมาช่วงที่เราไม่ได้ใช้งานอยู่ หรือที่เรียกว่าแบ็คกราวน์แอป (background app) และดูดแบตของเราไปเรื่อยๆ ทำให้แบตของเราหมดไวขึ้นกว่าปกติ แต่หลังๆ มานี้ระบบ Android ก็เริ่มที่จะจัดการเรื่องแอปแบบนี้ได้ดีมากขึ้น 

ปัญหาแบ็คกราวน์แอปดูดแบตอาจจะไม่ทำให้การชาร์จแบตมือถือของเราช้าลง แต่ว่าจะส่งผลกระทบทางอ้อมมากว่า เพราะอาจจะทำให้แบตหมดเร็วขึ้น เมื่อแบตหมดเร็วขึ้น เราก็ต้องชาร์จบ่อยขึ้น ส่งผลให้แบตเสื่อมสภาพ และอาจจะทำให้สายชาร์จ หรือที่ชาร์จของเราเสียหายได้

วิธีการแก้ปัญหา :ลองดาวน์โหลดแอป Task Manager ต่างๆ มาดูว่าแอปไหนแอบใช้งานในแบ็คกราวน์อยู่ แล้วลองลบแอปเหล่านั้นดูว่าแบตเรายังโดนดูดเหมือนเดิมหรือไม่ครับ

8. ช่องเสียบ USB ถูกขวาง 

ช่องเสียบ USB นั้นอาจจะไม่ค่อยมีคนใส่ใจเท่าไหร่นัก เพราะคิดว่าปัญหาอาจจะไม่ได้เกิดจากตรงนี้ ซึ่งจริงๆ แล้ว ช่องเสียบ USB ก็เป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้การชาร์จไฟนั้นช้าได้เหมือนกันครับ ส่วนใหญ่แล้ว เราจะใส่มือถือของเราไว้ในกระเป๋ากางเกง หรือไม่ก็ในกระเป๋าถือ ซึ่งมีโอกาสที่จะถูกฝุ่น หรือเศษผ้าเข้าไปอุดรูได้ครับ

ถ้าหากว่าเราไม่ได้สังเกตุดูที่ช่องเสียบ USB ดีๆ ว่ามีอะไรขวางอยู่หรือไม่ แล้วเสียบที่ชาร์จบ่อยๆ อาจจะทำให้สิ่งสกปรกเหล่านั้นฝังลึกและพอกพูนเพิ่มมากขึ้น และจะขวางไม่ให้กระแสไฟจากหัวชาร์จเข้าไปยังเครื่องครับ

วิธีการแก้ปัญหา :ใช้ไฟฉายส่องช่องเสียบ USB ดูว่ามีฝุ่นหรือเศษผ้าอยู่หรือไม่ ใช้ไม้แคะฟันแบบพลาสติก หรือแปรงสีฟันแห้งๆ ขัดดู ก็ช่วยได้เยอะเหมือนกัน

9. ช่องเสียบ USB เสียหาย

ปัญหาที่กล่าวมาด้านบนส่วนใหญ่แล้วจะสามารถแก้ไขได้ด้วยตัวเอง แต่ถ้าเกิดว่าช่องเสียบ USB ของเราเสียขึ้นมาละก็ จะเป็นปัญหาใหญ่เลยครับ เพราะเราจะไม่สามารถแก้ไขได้เองเลย ช่องเสียบ USB จะเสียหายได้ต้องเกิดจากการกระทบกระเทือนทางกายภาพ อย่างถูกทำหล่น หรือพยายามเสียบสาย USB แต่ดันเสียบผิดด้าน ถ้าหากว่ามือถือยังอยู่ในประกันก็โชคดีไปครับ แต่ถ้าหมดประกันแล้วก็ต้องส่งซ่อมอย่างเดียว

วิธีการแก้ปัญหา :ปัญหานี้แก้ด้วยตนเองไม่ได้นะครับ ส่งศูนย์ หรือ ส่งซ่อม อย่างเดียว 

10. ช่องเสียบ USB ถูกกัดกร่อน

 

การถูกกัดกร่อนที่ช่องเสียบ USB อาจจะเกิดขึ้นได้จากเหงื่อหรือความชื้น ซึ่งการกัดกร่อนเหล่านี้อาจจะไม่ได้เกิดขึ้นแบบทันทีนะ แต่ว่าจะเป็นการสะสมขึ้นมาเรื่อยๆ ถ้าเกิดว่าไม่จัดการก่อนอาจจะทำให้เกิดปัญหาชาร์จไฟไม่เข้า เพราะว่าถูกสนิมหรือการกัดกร่อนขวางขั้วเอาไว้ครับ ยิ่งไปกว่านั้นถ้าไม่รีบจัดการและปล่อยไว้เรื่อยๆ ปัญหาอาจจะลามไปยังส่วนอื่นๆ ได้ 

วิธีการแก้ปัญหา :ปัญหานี้สามารถแก้ไขได้ด้วยตัวเอง แต่ว่าถ้าใครไม่รู้เรื่อง หรือไม่ชำนาญ ก็อย่าลงมือทำเองดีกว่าครับ ส่วนวิธีการจัดการกับช่องเสียบ USB ที่ถูกกัดกร่อนนั้นก็ต้องเริ่มจากการแกะเครื่องออกมาก่อนครับ หลังจากนั้นก็ใช้น้ำส้มสายชูป้ายเบาๆ บริเวณที่ถูกกัดกร่อน แต่ต้องระวังอย่าให้เข้าเครื่องนะครับ ไม่งั้นพัง เมื่อป้ายน้ำส้มสายชูเสร็จก็รอประมาณ 5-8 นาที แล้วจึงผ้าขนหนูเช็ดออกจนคราบนั้นหมดไป เสร็จแล้วจึงใช้แอลกอฮอล์ทำความสะอาดอีกรอบ ปล่อยทิ้งไว้ให้แห้งประมาณ 30 นาที แล้วจึงประกอบเครื่องกลับเข้าไปครับ

หวังว่าข้อมูลเหล่านี้จะช่วยตอบคำถามเกี่ยวกับเหตุผลที่ทำให้มือถือเกิดการชาร์จช้า หรือว่าชาร์จไฟไม่เข้านะครับ ถ้าหากว่าเพื่อนๆ มีข้อมูลอื่นๆ ก็สามารถบอกเพิ่มกันได้นะครับ Smile

 

อ้างอิงมาจาก: Android Authority

Huawei พัฒนาแบตเตอรี่แบบใหม่ ชาร์จแบต 3000 mAh ได้ 48% ในเวลาเพียง 5 นาที

$
0
0

 

ในวงการสมาร์ทโฟนนั้นสิ่งที่เป็นปัญหาเรื้อรังมาอย่างยาวนานก็คือความจุของแบตเตอรี่ที่ใช้ในสมาร์ทโฟน ที่ส่วนมากมักจะไม่มากพอที่จะตอบสนองการใช้งานของเราๆ ในหนึ่งวันได้ ทำให้เราต้องคอยเสียบสายชาร์จ ตามหาปลั๊กเพื่อคืนชีพให้กับมือถือของตนเอง ล่าสุดทาง Huawei ก็ได้พัฒนาแบตเตอรี่แบบใหม่ขึ้นมาที่ช่วยลดเวลาในการชาร์จไปได้อย่างมาก

แบตเตอรี่ที่ทาง Huawei พัฒนาขึ้นนั้นยังคงเป็นแบตเตอรี่ ลิเธียม-ไอออน (Li-Ion)เหมือนกับแบตเตอรี่มือถือในปัจจุบัน โดยแตกต่างกันที่แบตเตอรี่นั้นจะมี heteroatom มาทำพันธะกับโมเลกุลของแกรไฟต์ที่ขั้วลบ ส่งผลให้แบตเตอรี่รุ่นนี้สามารถชาร์จได้อย่างรวดเร็วและไม่ส่งผลให้เกิดการสูญเสียความจุของแบตเตอรี่ 

โดยจากการทดสอบพบว่าแบตเตอรี่รุ่นนี้ที่มีความจุ 3,000 mAh สามารถชาร์จจาก 0% ขึ้นมาที่ 48% ได้ในเวลาเพียง 5 นาทีเท่านั้น (ดูได้จากวิดีโอ) และนอกจากแบตเตอรี่ขนาด 3,000 mAh แล้วก็มีขนาดเล็กกว่าที่มีความจุด 600mAh ก็สามารถชาร์จได้ 68% ในเวลาเพียง 2 นาทีเท่านั้น

ในช่วงปีที่ผ่านมานี้เราได้เห็นข่าวเกี่ยวเทคโนโลยีทางแบตเตอรี่กันไปเป็นจำนวนมาก แม้ว่าในตอนนี้เทคโนโลยีเหล่านี้อาจจะยังไม่ถูกนำมาใช้จริงในตลาด แต่ก็คาดว่าอีกไม่นานเราน่าจะได้จับต้องแบตเตอรี่ใหม่ๆ เหล่านี้ครับ

 

ที่มา: Phandroid

Sony กำลังพัฒนาแบตเตอรี่มือถือชนิดใหม่ที่มีความจุมากกว่าเดิมถึง 40%

$
0
0

หนึ่งในจุดขายหรือของสมาร์ทโฟนจากโซนี่ก็คือเวลาใช้งานของแบตเตอรี่ที่ยาวนานที่โซนี่โฆษณาว่า Xperia รุ่นใหม่ๆ นั้นสามารถใช้งานได้ข้ามวัน แต่ดูเหมือนว่าโซนี่ก็ยังคงไม่หยุดย่ำอยู่กับที่ ข่าวล่าสุดได้รายงานว่าฝ่ายทีมวิจัยของโซนี่นั้นกำลังพัฒนาแบตเตอรี่ชนิดใหม่สำหรับสมาร์ทโฟนโดยสามารถเพิ่มความจุได้มากกว่าแบตเตอรี่ในปัจจุบันถึง 40%

สำหรับโครงสร้างของแบตเตอรี่ที่โซนี่กำลังพัฒนาอยู่นั้นจะนำสารประกอบของกำมะถัน (Sulphur Compound) มาเป็นวัสดุสำหรับทำขั้วไฟฟ้าของแบตเตอรี่ ซึ่งจะทำให้โซนี่เพิ่มความหนาแน่นของพลังงานจากเดิมที่ราว 700 Wh/L ไปถึง 1,000 Wh/L ส่งผลให้ความจุของแบตเตอรี่เพิ่มขึ้นไปราว 40% เมื่อเทียบกับแบตเตอรี่ลิเธียม-ไอออนในปัจจุบัน และในตอนนี้โซนี่กำลังพัฒนาแบตเตอรี่ที่ใช้กำมะถันทั้งในโครงสร้าง ลิเธียม-กำมะถัน (Li-S) และแมกนีเซียม-กำมะถัน(Mg-S)

อย่างไรก็ตาม ทางโซนี่ได้วางแผนที่จะเริ่มนำเทคโนโลยีแบตเตอรี่ชนิดนี้มาใช้จริงในปี 2020 หรืออีกราว 4 ปี นั่นก็คือเราจะยังไม่เห็นแบตเตอรี่ชนิดนี้ในสมาร์ทโฟนเร็วๆ นี้เป็นแน่ครับ

 

ที่มา: Xperia Blog, Nikkei


นักวิจัย Stanford ค้นพบวิธีป้องกันแบตเตอรี่มือถือระเบิดด้วยแผ่นฟิล์มนาโน

$
0
0

เราได้ข่าวสมาร์ทโฟนระเบิดกันบ่อยครั้ง ไม่ว่าจะเป็น iPhone ระเบิดขณะชาร์จแบต หรือบางที Samsung ก็ลุกไหม้และระเบิดโดยไม่ทราบสาเหตุ แน่นอนว่าในหลายๆ ครั้งสาเหตุของมันเกิดจากแบตเตอรี่ Lithium-Ion ที่เราใช้กันอยู่ในปัจจุบัน ถึงแม้ว่าตัวแบตเตอรี่เองจะมีระบบป้องกันอยู่แล้วแต่ก็อาจจะยังไม่พอ ล่าสุดนักวิจัย Stanford ก็ได้ค้นพบวิธีป้องกันแบตเตอรี่ระเบิดเนื่องจากมีความร้อนสูงเกินไป

นักวิจัย Stanford ได้ใช้นาโนเทคโนโลยีสร้างแผ่นฟิล์มที่ประกอบไปด้วยอนุภาค nikel ที่มีปลายแหลม เคลือบด้วย graphene และ carbon อีกชั้นหนึ่ง โดยจะเอาแผ่นฟิล์มนี้มาพันรอบแบตเตอรี่ Lithium-Ion และขั้ว Electode

ในอุณหภูมิปกติ ปลายแหลมของ nickel บนฟิล์มจะสัมผัสกับตัวแบตเตอรี่และยอมให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านออกไป แต่เมื่อใดที่อุณหภูมิสูงเกินกว่าปกติแล้วละก็แผ่นฟิล์มนี้จะขยายตัวขึ้นป้องกันไม่ให้ nickel สัมผัสกับแบตเตอรี่ กระแสไฟก็จะไม่ไหลผ่านออกไปและตัดการทำงานของแบตเตอรี่ ป้องกันไม่ให้มีความร้อนสูงจนเกิดระเบิดขึ้นนั่นเอง

แน่นอนว่าแผ่นนาโนฟิล์มนี้ยังอยู่ในระหว่างการทดลองและคงยังไม่พร้อมใช้งานในเวลาอันใกล้ แต่ก็ถือเป็นงานวิจัยที่น่าสนใจและหวังว่าจะพัฒนาจนสามารถนำมาใช้กับแบตเตอรี่ได้ในเร็ววันนี้ครับ

 

source : androidpolice 

Intelligent Energy ผู้ผลิต Fuel-Cell เผยอีก 2 ปี จะมีแบตเตอรี่สมาร์ทโฟนที่อยู่ได้นานถึง 7 วัน

$
0
0

ปัจจุบันสมาร์ทโฟนหนึ่งเครื่องสามารถใช้งานได้เต็มที่ก็หนึ่งวัน หรืออาจจะมีเกินจากนั้นบ้างบางรุ่น และก็มีบางรุ่นที่มาพร้อมฟีเจอร์มากมายมหาศาล แต่แบตเตอรี่กลับหมดไวเสียอย่างนั้น ซึ่งนี่ก็เป็นอีกหนึ่งปัญหาหงุดหงิดรำคาญใจของผู้ใช้สมาร์ทโฟน แต่โลกของเทคโนโลยีนั้นหมุนไวมาก ล่าสุดนักพัฒนา Fuel - Cell ชาวอังกฤษแง้มว่ากำลังพัฒนาให้แบตเตอรี่ให้มีอายุการใช้งานได้นานขึ้นในอนาคตอันใกล้นี้

นักพัฒนา Fuel-Cell คนนี้ทำงานอยู่ใน Intelligent Energy บริษัทที่เคยสร้างชื่อจากการผลิตรถพลังงานไฮโดรเจนในอังกฤษ รวมถึงผลิตหลังงานจาก Fuel-Cell ที่ใช้งานกับเครื่องบินของโบอิ้ง ซึ่งได้เล่าว่า พวกเขากำลังพัฒนาเทคโนโลยีที่จะนำเอา Fuel-Cell มาใช้ในการทำแบตเตอรี่สมาร์ทโฟนเพื่อช่วยยืดระยะเวลาการใช้งานได้นานขึ้น โดยผู้ผลิตสมาร์ทโฟนได้ให้ทุนพวกเขาในการผลิต Fuel-Cell เป็นแบตเตอรี่ขนาดเล็กสำหรับมือถือเป็นมูลค่า 7.6 ล้านดอลลาร์ (~ 269,093,227 บาท)

นอกจากนี้นาย Henri Winand ประธานบริษัท Intelligent Energy นั้นแอบแง้มข้อมูลอีกนิดว่า ถ้าความร่วมมือกับบริษัทผู้ผลิตมือถือดังกล่าวนั้นเป็นไปได้ด้วยดี อีกประมาณ 2 ปี ก็คงจะได้เห็นสมาร์ทโฟนที่สามารถใช้งานได้ยาวนานถึง 7 วัน ส่วนรายละเอียดอื่นๆ ว่าจะออกมาในรูปแบบไหน อย่างไรนั้นยังไม่มีการเปิดเผยค่ะ หากมีข่าวอัพเดทเพิ่มเติมก็จะรีบมาเล่าสู่กันฟังนะคะ Laughing out loud

 

Source:androidauthority

เมื่อ ICAO ประกาศห้ามนำแบตเตอรี่ Lithium ION โหลดขึ้นเครื่อง แล้วเรายังจะพกแบตสำรองได้หรือเปล่า?

$
0
0

เป็นข่าวประเด็นร้อนกันขึ้นมาอีกรอบเมื่อ ICAO หรือองค์การบินพลเรือนระหว่างประเทศได้ออกมาประกาศว่า ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2016 ห้ามนำแบตเตอรี่ลิเธียมไอออนโหลดเป็นสัมภาระขนส่งบนเครื่องบินโดยสารทุกประเภท เนื่องจากมีความเสี่ยงที่จะเกิดเพลิงไหม้ได้ ซึ่งหลังจากข่าวนี้ออกมาก็เป็นที่ตื่นตระหนกในบ้านเราพอสมควร แล้วแบบนี้แบตเตอรี่โน๊ตบุค แบตเตอรี่มือถือ รวมถึงแบตสำรองหรือ Power Bank นั้นจะยังถือขึ้นเครื่องกันได้อยู่หรือไม่ ไม่ต้องกังวลใจกันครับ คำตอบคือยังถือขึ้นเครื่องได้เหมือนเดิมครับ

โดยประกาศของ ICAO เรือง Prohibits Lithium-Ion Cargo Shipments on Passenger Aircraft หรือการห้ามทำการขนส่งแบตเตอรี่ลิเธียมไอออนบนเครืองบินโดยสาร นั้นก็มีความหมายตามหัวข้อเลยครับ คือห้ามทำการขนส่งแบตเตอรี่ลิเธียมไออนด้วยเครื่องบินโดยสาร ยกตัวอย่างง่ายๆ ก็คือถ้าคุณผลิตแบตเตอรี่และต้องการจะส่งไปต่างประเทศมันก็ต้องส่งทางเรือหรือเครื่องบินใช่ไหมครับ ซึ่งก่อนหน้านี้ก็มีการขนส่งผ่านทางเครื่องบินโดยสาร (Passenger Aircraft) กันบ้างโดยการโหลดไปในส่วนของ Cargo หรือส่วนของสินค้าใต้ท้องเครื่อง แต่ล่าสุดที่ ICAO ออกมาประกาศคือห้ามเลย ถ้าจะมีการขนส่งแบตเตอรี่นั้นต้องไปใช้เครื่องบินขนส่ง (Cargo Aircraft) เท่านั้น สาเหตุที่ห้ามนั่นก็เพราะว่าระบบดับเพลิงบนเครื่องบินนั้นไม่สามารถทนต่อความร้อนและการระเบิดของแบตเตอรี่ลิเธียมไอออนได้นั่นเอง

ซึ่งการห้ามในครั้งนี้ไม่ได้มีผลเกี่ยวกับแบตเตอรี่ลิเธียมไอออนที่ผู้โดยสารอย่างเราๆ ท่านๆ นั้นใช้งานกันในโทรศัพท์มือถือ โน๊ตบุค กล้องถ่ายรูป หรือแบตเตอรี่สำรอง (Power Bank) แต่อย่างใด เรายังสามารถนำติดตัวขึ้นเครืองได้เหมือนเดิม

จะเห็นว่าสายการบินต่างๆ ก็ห้ามโหลดเอาแบตเตอรี่ลิเธียมไอออนขึ้นเครื่องกันอยู่แล้ว เพราะฉะนั้นไม่ต้องกังวลใจกันไป ขอแค่ไม่เอาขึนเครื่องเกินที่เค้ากำหนดไว้ก็พอ โอเคเนอะ 

  1. ห้ามนำแบตเตอรี่สำรอง (Power Bank) ทุกชนิดใส่กระเป๋าที่จะนำไปโหลดขึ้นใต้เครื่องบิน ซึ่งกระเป๋าที่โหลดขึ้นใต้เครื่องเค้าใช้ศัพท์ว่า Checked Baggaged หรือ Hold Baggaed 
  2. แบตเตอรี่สำรอง (Power Bank) สามารถนำขึ้นบนเครื่องบินได้ หากมีประจุไฟน้อยกว่า 20,000 มิลลิแอมป์ (100 Wh) สามารถแบกขึ้นเครื่องได้ไม่จำกัด ถือได้กี่อันก็เอาขึ้นไปได้เลย ถ้าไม่กลัวหนัก
  3. แบตเตอรี่สำรอง (Power Bank) ที่มีประจุไฟมากกว่า 20,000 มิลลิแอมป์ แต่ไม่เกิน 32,000 มิลลิแอมป์ (100-160 Wh) สามารถนำขึ้นเครื่องได้ไม่เกิน 2 ชิ้น
  4. ห้ามนำแบตเตอรี่สำรอง (Power Bank) ที่มีประจุไฟเกิน 32,000 มิลลิแอมป์ (>160 Wh) ขึ้นเครี่องโดยเด็ดขาด 

แถมท้ายนิดนึงเรื่องแบตเตอรี่ในกระเป๋าโหลด เมื่อคราวที่แล้วผมบินกลับจากจีน ก็ใส่แบตเตอรี่กล้องลงในกระเป๋าไป คือเล็กมากก้อนนึงไม่ถึง 2,000 มิลลิแอมป์ พอเจ้าหน้าที่จีนตรวจเจอเค้าให้ผมเอาออกทันที แล้วก็เอาใส่กระเป๋าถือขึ้นเครื่องไปแทน ตอนแรกนึกว่าตรวจเจออะไรซะอีก ตกใจแทบแย่ เฮ่อ

 

source : icao

เมื่อ ICAO ประกาศห้ามนำแบตเตอรี่ Lithium ION โหลดขึ้นเครื่อง!

$
0
0

เป็นข่าวประเด็นร้อนเมื่อ ICAOออกมาประกาศว่า ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2016 นี้ ห้ามนำแบตเตอรี่ลิเธียมไอออนโหลดเป็นสัมภาระขนส่งบนเครื่องบินโดยสารทุกประเภท เนื่องจากมีความเสี่ยงที่จะเกิดเพลิงไหม้ ... อ่าวววว แล้วแบบนี้แบตเตอรี่โน๊ตบุ๊ค แบตเตอรี่มือถือ Power Bank ที่เรามีจะยังถือขึ้นเครื่องกันได้อยู่หรือเปล่าหละ??  

 

มาหาคำตอบกันได้จากคลิปนี้ค่ะ :]

52VQSmnUdtw

ค้นพบต้นแบบแบตเตอรี่ชนิดใหม่ อายุการใช้งานยืนยาวกว่าของเดิม 400 เท่า!

$
0
0

นับว่าเป็นอีกหนึ่งสัญญาณดีในแวดวงเทคโนโลยี เมื่อไม่นานมานี้นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เออร์ไวน์ (UC Irvine) ได้ค้นพบต้นแบบแบตเตอรี่ที่สามารถมีอายุการใช้งานยืนยาวกว่าปัจจุบันถึง 400 เท่าโดยบังเอิญ ขณะกำลังคิดค้นดีไซน์แบตเตอรี่ Lithium-ion แบบใหม่กันอยู่ โดยว่ากันว่า แบตเตอรี่แบบใหม่นี้สามารถชาร์จได้มากกว่า 200,000 รอบโดยไม่เสื่อมสภาพ จากแบตเตอรี่รุ่นเดิมๆ ในปัจจุบันที่สามารถชาร์จได้สูงสุดเพียง 7,000 รอบเท่านั้น

เดิมทีทีมวิจัยเคยได้ตั้งเป้าหมายคิดค้นแบตเตอรี่ที่ไม่ต้องพึ่งของเหลวในการชาร์จไฟ เพราะของเหลวภายในนั้นตอบสนองกับอุณหภูมิและติดไฟได้ง่าย เป็นสาเหตุให้อันตรายต่อการเก็บรักษาและขนส่ง จนกรมการบินนานาชาติ ไม่ยอมให้โหลดแบตเดตออรี่ใต้ท้องเครื่อง ดังนั้นแทนที่จะใช้ของเหลวแบบเก่า ทีมวิจัยจึงเลือกใช้ Electrolyte Gelบวกกับเส้นลวดนาโนทอง (Gold Nanowires) ซึ่งมีขนาดเล็กกว่าเส้นผมคนเราถึง 1,000 เท่า

อธิบายกันต่ออีกนิดนึงว่า จริงๆ แล้วลวดนาโนไม่ใช่สิ่งใหม่ในแบตเตอรี่เลย แต่ลวดนาโนในแบตเตอรี่ Lithium-ion ที่ใช้อยู่ในปัจจุบันนั้นมักจะขาดง่ายและสูญเสียคุณสมบัติในการเก็บพลังงานซึ่งเป็นสาเหตุทำให้แบตเตอรี่มีการเสื่อมอายุ แต่การใช้เส้นนาโนเคลือบทองจะทำให้ยับยั้งไม่ให้ลวดเสื่อมสภาพ

จากการวิจัยแบตเตอรี่ชนิดใหม่ใน 3 เดือนที่ผ่านมาและผ่านการชาร์จ 200,000 ครั้ง ทีมวิจัยพบว่าแบตเตอรี่ที่ใช้ Electrolye Gel + Gold nanowires นั้นไม่มีร่องรอยการเสื่อมสภาพของแบตเตอรี่ หรือพูดง่ายๆ ว่าความจุแบตไม่ได้ลดลงเลย ซึ่งผลการทดลองในตอนนี้ยังอยู่แค่ในห้องแลบเท่านั้น คงต้องมีการตรวจสอบในเรื่องความปลอดภัยเพิ่มเติม และอาจใช้เวลาเป็นปีๆ กว่าจะผ่านมาตรฐานอุตสาหกรรมและนำมาผลิตให้เราได้ใช้งานกันครับ

 

ที่มา Science Hook via PhoneArena

Viewing all 25 articles
Browse latest View live